คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.07.2564
95
0
แชร์
22
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Health Impact Assessment Applying at the Local Level under the Public Health Act. B.E.2535

ปีพิมพ์ : 2562

บทคัดย่อ :

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment หรือ HIA) เป็นกระบวนการที่ใช้ประเมินคาดการณ์ความเสี่ยงหรือผลกระทบต่อสุขภาพ นำไปสู่การกำหนดวิธีการป้องกันหรือจัดการความเสี่ยงนั้น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรมีการพัฒนาให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย จึงได้ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในระดับท้องถิ่น และขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่อื่น วิธีการศึกษามีการทบทวนและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนด “รูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการ HIA” แล้วนำไปทดลองใช้พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 – กันยายน 2561 และขยายผลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่งระหว่างเดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนและกระบวนการ HIA ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้จริง 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรวบรวมทุติยภูมิสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อม 2) การประชุมประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ 4) การวิเคราะห์ข้อมูล ประเมิน เพื่อระบุผลกระทบผลกระทบและกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลกระทบ 5) การประชุมประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางจัดการผลกระทบ 6) การวางแผนปฏิบัติการจัดการผลกระทบ และ 7) การดำเนินการตามแผนและติดตามประเมินผล นอกจากนี้ยังพบแบบแผนของการดำเนินงานที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านศักยภาพของบุคลากรและทีมงาน โดยเป็นทีมงานที่มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกระบวนการ HIA เห็นปัญหาหรือโอกาสของการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม และเห็นเป้าหมายร่วมกัน 2) ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งต้องเป็นกระบวนการที่มีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง ตรงประเด็น ชัดเจน น่าสนใจ มีผู้นำกระบวนการ (Facilitator) ที่สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม 3) ด้านวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น หากให้ความสำคัญกับการยกระดับบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนจะยิ่งสนับสนุนให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จมากขึ้น 4) ด้านข้อมูลและองค์ความรู้ที่นำมาสนับสนุน โดยข้อมูลที่แสดงให้เห็นสถานการณ์ของพื้นที่ได้อย่างครอบคลุมจะส่งผลให้การประเมินและบ่งชี้ผลกระทบมีความแม่นยำ สามารถกำหนดวิธีการจัดการได้ตรงจุด อีกทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยีจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาได้ผลและเกิดประโยชน์ในแง่ของการคุ้มครองสุขภาพประชาชน จึงมีข้อเสนอแนะให้ใช้นำรูปแบบกระบวนการ 7 ขั้นตอน ไปพัฒนาและขยายผล และนำแผนของการดำเนินงานที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จ 4 ด้าน ไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประเมินผลและพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

บทคัดย่ออังกฤษ :

Health Impact Assessment (HIA) is a combination of procedures that uses in the environmental health management for Local Administrative Organization (LAOs). HIA focuses on gathering data and evidences ethically in order to relate risk factors and environmental health impacts, and identify mitigation measures for protecting people’s health through stakeholder and public participation. It can be used for environmental health services management and also public health policy development. This action research aims to developed Health Impact Assessment model for environmental health management at local level. For methodology we reviewed literature and synthesized information to determine "the HIA model for environmental health management" and test the model in 12 local administrative organizations during December 2017 - September 2018 and expanded in 12 local administrative organizations during December 2018 - September 2019. The results , the relatively stable procedures and processes of HIA that LAOs can be applied consisting of 7 steps included 1) Gathering secondary information and environmental health situations 2) Citizen and stakeholder participation (meeting, focus group, public consultation) to analyzed the situation and identified the impact assessment methodology 3) Data collection 4) Data analysis and forecasting the environmental health impact. 5) Citizen and stakeholder participation to determine mitigation measures on minimizing health impacts or determine the environmental health management. 6) Operational planning or action planning 7) Implementation and evaluation. In addition, the factors influencing the success of HIA included 4 elements. First, LAOs staff and HIA teams that understands and realizes the importance of HIA and the opportunities of using HIA in environmental health management. Secondly, public participation must presents evidence based information, a smart facilitator can provide a learning environment and provide opportunities to support involvement of all stakeholder. Thirdly, Executives of Local Administration have an important role for driving health in all local policies and good governance. Fourthly, Information and supporting knowledge used in the accuracy assessment and identify health impact for specify mitigation measures. This study suggests that, follow 7step of HIA model to develop and expand to others area, follow 4 success elements to develop strategies and promote HIA for environmental health management, and further evaluation.

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,วาสนา ลุนสำโรง ,พนิตา เจริญสุข ,นัฐพล ศิริหล้า ,ชนะจิตร ปานอู

คำสำคัญ : Health Impact Assessment, Local HIA, Environmental Health Management, public participation

ชื่อประชุมวิชาการ : การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ.2562 “Disruptive Innovation towards Smart Citizens by Health Literacy : พลิกโฉมนวัตกรรม สร้างความรอบรู้ สู่ประชาชนสุขภาพดี”

ไฟล์ประชุมวิชาการ : https://drive.google.com/open?id=1cOyu0F8vteObG2XAAuIq2TlgYDJj1ctE

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขนาดไฟล์ 6MB
ดาวน์โหลด 50 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน