คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์: การวิจัยผสานวิธี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.01.2568
11
0
แชร์
31
มกราคม
2568

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)  ศึกษาสถานการณ์ปัญหาของความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  เริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้วยเทคนิค PICO วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยด้วยคำสำคัญจนได้งานวิจัยที่ถูกสืบค้นทั้งสิ้น 31,982 เรื่อง ผ่านการสังเคราะห์ทั้งสิ้น 9 เรื่อง แล้วใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 26 คนเท่ากัน เก็บข้อมูลด้วย 1) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ และ 3) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล ผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล ควรเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบสื่อการเรียนรู้เสริมทักษะ 5 ด้าน คือ  (1) ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล (2) ทักษะการใช้แหล่งข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล (3) ทักษะการสนับสนุนทางสังคมและเครือข่าย (4) การติดตามพฤติกรรมและข้อเสนอแนะ (5) การประเมินและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2) การวัดความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล วัดได้จาก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (2) การเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (3) การประเมินข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (4) การประยุกต์ใช้ข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยผลการวิจัยพบว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์มีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลและพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบพบว่า 1) สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ ในกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลและพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และ 2) สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลและพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ  มีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลและพฤติกรรม
ไม่แตกต่างไปจากเดิม

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

FullPaper_KD.pdf
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน