1. กำหนดและพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานหลักด้านการส่งเสริมสุขภาพและการอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศ
2. ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการบริการส่งเสริมสุขภาพการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
3. กำหนดและพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และกฎเกณฑ์ รวมทั้งการรับรองมาตรฐานการบริการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
4. พัฒนาระบบและกลไกเครือข่ายในการเฝ้าระวังสถานะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและสภาพแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาระบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับโครงการหรือกิจกรรม
5. พัฒนาระบบ กลไก และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
6. ถ่ายทอด และพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถ และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ การอนามัยสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคี เครือข่าย และชุมชน
7. ประสานงาน ร่วมมือ สนับสนุน และติดตามนิเทศงานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคี เครือข่าย รวมทั้งการประสานงานระหว่างประเทศ ในงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ การอนามัยสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
8. สร้างกระแสสังคม และรณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ การอนามัยสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในสังคม
9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
นโยบายการทำงานกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพปี 2561
1. ดำเนินงานด้วยความสุจริต โปร่งใส และมีคุณธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมกรมอนามัย (HEALTH)
2. ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยยึดแนวทาง กรมอนามัย
· แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข)
· แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
· ใช้หลักการพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม A2IM ( Assessment/Advocacy/ Intervention/ Management )
· ใช้กลยุทธ์ PIRAB เป็นเครื่องมือ (Partnership/ Investment / Regulation and Legislation / Advocacy / Building capacity)
3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization: HPO) และการเป็นองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Organization :HLO) ตามแนวทาง PMQA เพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรคุณภาพคู่คุณธรรม กรมอนามัย
4. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
5. สนับสนุนการทำงานแบบบูรณาการคร่อมและข้ามสายงาน บริหารจัดการผ่าน Cluster
6. ให้ความร่วมมือตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด
7. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างประเทศ
8. สนับสนุนกลไกการทำงานด้านการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ให้เป็นไปเพื่อการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
………………………………………………………………………