หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
สำหรับกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
ข้าพเจ้า โดยซึ่งต่อไปในหนังสือให้ความยินยอมฉบับนี้ เรียกว่า “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ตกลงยินยอมให้ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย เก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าที่มีอยู่กับกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย ซึ่งต่อไปนี้ในหนังสือให้ความยินยอมฉบับนี้เรียกว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ประเภทข้อมูลที่ให้ความยินยอมในการจัดเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูล
1.1 คำนำหน้า
1.2 ชื่อ – นามสกุล
1.3 ตำแหน่ง
1.4 หน่วยงาน
1.5 เบอร์โทรศัพท์ภายใน
1.6 เบอร์โทรศัพท์มือถือ
1.7 e-Mail
1.8 รูปถ่าย
2. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อกระบวนการดังต่อไปนี้
2.1 เพื่อจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
2.2 เพื่อการบริหารจัดการสถานที่และทรัพยากร เช่น การเตรียมระบบประชุมทางไกล (Video Conference) การจัดอุปกรณ์ หรือสื่อสนับสนุนที่ต้องใช้ในการประชุม
2.3 เพื่อติดต่อประสานงาน และแจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม
2.4 เพื่อประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการประชุม
2.5 เพื่อจัดทำสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผลเกี่ยวกับการประชุม
2.6 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล รูปถ่าย และวิดีโอต่าง ๆ ในวันจัดกิจกรรมประชุม และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมประชุม ต่อไป
2.7 เพื่อปฎิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ทั้งนี้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น ชื่อ นามสกุล เพศ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วัน เดือน ปีเกิด รูปถ่าย
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
3. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ในแบบฟอร์มตอบรับการประชุม หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งข้อมูลส่วนบุคคล กรมอนามัยขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
4. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จะจัดเก็บไว้ตามวัตถุประสงค์จนกว่าจะมีการขอถอนความยินยอม เปลี่ยนผู้ประสานงาน หรือยกเลิกการขอเข้าร่วมประชุม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 37 วรรค 3 จัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนด ระยะเวลาการเก็บรักษา หรือที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หรือตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอ หรือที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้ถอนความยินยอม
5. ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับ การเปิดเผยข้อมูลจะกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 2. ข้างต้น หรือตามหมายเรียก คำสั่งของศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น
6. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิดังต่อไปนี้
6.1 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
6.2 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ
6.3 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้ในกรณีตามที่กฎหมายกำหนด
6.4 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลได้ในกรณีตามที่กฎหมายกำหนด
6.5 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีตามที่กฎหมายกำหนด
6.6 ถอนความยินยอมเสียเมื่อใดก็ได้โดยจะต้องถอนความยินยอมได้ง่ายเช่นเดียวกับการให้ความยินยอม เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมาย ทั้งนี้ การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบตามที่กำหนดไว้
6.7 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถูกต้องเป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
6.8 มีสิทธิร้องเรียนในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงาน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล