คุณกำลังมองหาอะไร?

บรมพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษกิจพิเศษชายแดน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.08.2567
50
0
แชร์
09
สิงหาคม
2567

       กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี จัดอบรมพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเครือข่ายอาสาสมัครชุมชน ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษกิจพิเศษชายแดน จังหวัดกาญจนุบรี ในวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองสองตอน ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะดัานอนามัยสิ่งแวดล้อม

       ในการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ได้แก่ มลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอย และการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ให้กับเครือข่ายอาสาสมัครชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 40 คน โดยมีผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองสองตอน กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรม และนางสาวพนิตา เจริญสุข หัวหน้ากลุ่มประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากโครงการและนโยบาย

       กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กล่าวความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการอบรม และมีผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองสองตอน ร่วมสังเกตการณ์การอบรม กิจกรรมการอบรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัย สิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้

  1. การเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือ กิจกรรม “สืบค้นข้อมูล (อนามัยสิ่งแวดล้อม) ” เป็นการ พัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม จากหนังสือ แผ่นพับ อินเทอร์เน็ต หรือการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
  2. การเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือกิจกรรม “เรียนรู้และเข้าใจอนามัยสิ่งแวดล้อม” เป็นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำศัพท์ สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง
  3. การตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือกิจกรรม “ตรวจสอบข้อมูลเป็น” เป็นการประเมิน วิเคราะห์ เปรียบเทียบหรือตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องจากหลายแหล่ง
  4. การพัฒนาการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ หรือกิจกรรม “การตัดสินใจสื่อสารนำทางสุขภาพ” เป็นการพัฒนาทักษะการใช้ข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการตัดสินใจกำหนดทางเลือก ประเมินทางเลือก และแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคลและชุมชน

       สำหรับการอบรมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการนำความรู้ ทักษะ และสมรรถนะดัานอนามัยสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการปัจจัยเสี่ยงในชุมชน และสื่อสารสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน