คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมพิจารณา (ร่าง) มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.09.2567
75
0
แชร์
25
กันยายน
2567

ประชุมพิจารณา (ร่าง) มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568

          วันที่ 24 กันยายน 2567 กรมอนามัย ได้มอบหมายหมายให้กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ร่วมประชุมพิจารณา (ร่าง) มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมมลพิษ โดยมีนางสาวกรวิภา ปุนณศิริ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เข้าร่วมประชุม

          การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการเตรียมการความพร้อมรับมือการป้องกันและแก้ไขปัญหา และบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งแวดล้อม โดยมี นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ ได้นำเสนอ (ร่าง) มาตรการฯ และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

          1) กรอบแนวทางการดำเนินงานยกระดับมาตรการฯ ปี 2568 จะมีการวางแนวปฏิบัติทั้งในระดับประเทศ ระดับกลุ่มพื้นที่ (Cluster) และระดับจังหวัด โดยกำหนดการดำเนินงานภายใต้ การเตรียมการรับมือล่วงหน้าให้เร็วขึ้น วิเคราะห์จัดทำพื้นที่เสี่ยงการเผาเสี่ยงฝุ่น (Risk Map) ควบคุมพื้นที่แบบมุ่งเป้าพื้นที่ป่าแปลงใหญ่กลุ่มป่ารอยต่อไฟยึดพื้นที่ที่มีปัญหาเพื่อยกระดับปฏิบัติการของภาครัฐแบบข้ามเขตปกครอง บริหารไฟในพื้นที่เกษตรช่วงการเก็บเกี่ยวภายใต้ระบบ การลงทะเบียน ให้รางวัลกับคนทำดีเพื่อสร้างแรงจูงใจ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำผิดตามหลัก PPP ใช้หลักการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านก่อนเริ่มหมอกควันข้ามแดน มีระบบงบประมาณที่ยืดหยุ่น ใช้การสื่อสารที่รวดเร็ว ตรงประเด็น ทันเหตุการณ์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระจายข้อมูลทั่วทุกพื้นที่ มีตัวชี้วัดที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อประชาชน

          2) การปฏิบัติการ กำหนดการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแหล่งกำเนิดเพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น การจัดการไฟป่า การจัดการไฟป่าพื้ที่เกษตร การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง (ยานพาหนะ อุตสาหกรรม ชุมชนและริมทาง การจัดการหมอกควันข้ามแดน) การบริหารจัดการภาพรวม โดยกระทรวงสาธารณสุขมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การจัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ยารักษาโรค ทีม/หน่วยปฏิบัติการดูแลประชาชน คลินิกมลพิษ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝุ่นละออง

           3) กรมอนามัย ได้เสนอเพิ่มมาตรการ “มุ้งสู้ฝุ่น” เพื่อดูแลสุขภาพสุขภาพของประชาชน และเสนอให้มีการกำหนดระบบปฏิบัติการให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกันในทุกระดับและหน่วยงาน

           4) การดำเนินงานต่อไป กรมควบคุมมลพิษจะดำเนินการปรับมาตรการฯ ตามข้อเสนอขที่ประชุม และจะมีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอเพิ่มเติมในการปฏิบัติการให้ครอบคลุม เพื่อเตรียมการรับมือและเป็นแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของประเทศ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน