กรมอนามัยกรมควบคุมมลพิษ กำหนดมาตรการตั้งรับปัญหาหมอกควัน ดึง อสม. 6 จังหวัดภาคเหนือ สร้างความเข้าใจชาวบ้านในพื้นที่
กรม อ. ? กรม คพ. กำหนดมาตรการตั้งรับปัญหาหมอกควัน ดึง อสม. 6 จังหวัดภาคเหนือสร้างความเข้าใจชาวบ้านในพื้นที่
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการป้องกันปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือที่เกิดขึ้นทุกปี เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันปี 2559 โดยสนับสนุนให้ อสม. จาก 27 ตำบล ในพื้นที่เกิดไฟป่าซ้ำซาก 6 จังหวัดภาคเหนือ สื่อสารไปยังประชาชนให้รับรู้ถึงปัญหา หวังลดผลกระทบด้านสุขภาพ
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าว มาตรการรับมือผลกระทบจากภาวะหมอกควัน? ร่วมกับ นายสุวรรณ นันทศรุต รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ณ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า สถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมอกควัน ภัยแล้ง และความร้อน เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของหลายประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่เห็นได้ชัดคืออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ภัยแล้ง ทำให้แหล่งน้ำลดลงและทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ขาดน้ำเพาะปลูก ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และเกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องหันมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลดน้อยลง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกว่า 150 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมภาคีสมาชิกสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (Conference of the Parties : COP 21) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจรจาให้บรรลุข้อตกลงใหม่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย อาจทำให้ปัญหาความร้อน และภัยแล้ง ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และขณะนี้กำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว โดยในปี 2558 พบผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ จำนวนรวม 826,247 ราย
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า การรับมือกับปัญหาหมอกควันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2559 นั้น เบื้องต้นกรมอนามัย ได้มีแนวทางเป็นมาตรการป้องกันบูรณาการร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ โดยออกคำแนะนำการจัดการมูลฝอยชุมชนที่ถูกต้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดการเผามูลฝอย นอกจากนี้สนับสนุนให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ในพื้นที่ ที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าซ้ำซากจำนวน 4,819 คน จาก 27 ตำบล ใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน เป็นกลไกสำคัญในการสื่อสารความเสี่ยงให้ถึงประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงปัญหาหมอกควัน และผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ซึ่งกรมอนามัยจะสนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะไปสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งยังได้มีมาตรการพัฒนาระบบการจัดบริการ โดยให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมการและจัดบริการรองรับผู้ป่วยให้พร้อมในช่วงวิกฤต และมาตรการสุดท้ายคือสนับสนุนการใช้กลไกมาตรการทางกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อดูแล และป้องกันสุขภาพประชาชน อาทิ มีคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันร่วมกับภาคีต่าง ๆ ซึ่งต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างจริงจังในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ? พฤษภาคม 2559 เพื่อป้องกันและลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น
ทางด้าน นายสุวรรณ นันทศรุต รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ทุก ๆ ปีที่ผ่านมา พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และตาก นับเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม ? เมษายน และมีแนวโน้มของความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาป่า เผาในพื้นที่เกษตร และเผาหญ้าข้างทาง ซึ่งจากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ? เมษายน 2558 พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สูงกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จังหวัดที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานสูงสุด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษจึงได้มีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพื่อใช้ในการายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ด้วยการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเรียกใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ โดยใช้ชื่อว่า Air4Thai? สามารถรายงานคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษที่มีอยู่กว่า 70 สถานีทั่วประเทศและคำนวณค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) โดยแสดงผ่านสัญลักษณ์ตัวการ์ตูนหน้ากลมที่ใช้สีต่าง ๆ เป็นตัวแทนของระดับคุณภาพอากาศ นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานอื่น ๆ อีกมากมายในการรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในประเทศใน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://air4thai.pcd.go.th
กรม อ. กรม คพ. กำหนดมาตรการตั้งรับปัญหาหมอกควัน ดึง อสม. 6 จังหวัดภาคเหนือสร้างความเข้าใจชาวบ้านในพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการป้องกันปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือที่เกิดขึ้นทุกปี เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันปี 2559 โดยสนับสนุนให้ อสม. จาก 27 ตำบล ในพื้นที่เกิดไฟป่าซ้ำซาก 6 จังหวัดภาคเหนือ สื่อสารไปยังประชาชนให้รับรู้ถึงปัญหา หวังลดผลกระทบด้านสุขภาพ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าว \\มาตรการรับมือผลกระทบจากภาวะหมอกควัน ร่วมกับ นายสุวรรณ นันทศรุต รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ณ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า สถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมอกควัน ภัยแล้ง และความร้อน เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนของหลายประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่เห็นได้ชัดคืออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ภัยแล้ง ทำให้แหล่งน้ำลดลงและทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ขาดน้ำเพาะปลูก ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และเกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องหันมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลดน้อยลง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกว่า 150 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมภาคีสมาชิกสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (Conference of the Parties : COP 21) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจรจาให้บรรลุข้อตกลงใหม่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย อาจทำให้ปัญหาความร้อน และภัยแล้ง ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และขณะนี้กำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว โดยในปี 2558 พบผู้ป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ จำนวนรวม 826,247 ราย นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า การรับมือกับปัญหาหมอกควันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2559 นั้น เบื้องต้นกรมอนามัย ได้มีแนวทางเป็นมาตรการป้องกันบูรณาการร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ โดยออกคำแนะนำการจัดการมูลฝอยชุมชนที่ถูกต้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดการเผามูลฝอย นอกจากนี้สนับสนุนให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ในพื้นที่ ที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าซ้ำซากจำนวน 4,819 คน จาก 27 ตำบล ใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน เป็นกลไกสำคัญในการสื่อสารความเสี่ยงให้ถึงประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงปัญหาหมอกควัน และผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ซึ่งกรมอนามัยจะสนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะไปสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งยังได้มีมาตรการพัฒนาระบบการจัดบริการ โดยให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมการและจัดบริการรองรับผู้ป่วยให้พร้อมในช่วงวิกฤต และมาตรการสุดท้ายคือสนับสนุนการใช้กลไกมาตรการทางกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อดูแล และป้องกันสุขภาพประชาชน อาทิ มีคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันร่วมกับภาคีต่าง ๆ ซึ่งต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างจริงจังในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม 2559 เพื่อป้องกันและลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น ทางด้าน นายสุวรรณ นันทศรุต รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ทุก ๆ ปีที่ผ่านมา พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และตาก นับเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม เมษายน และมีแนวโน้มของความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาป่า เผาในพื้นที่เกษตร และเผาหญ้าข้างทาง ซึ่งจากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม เมษายน 2558 พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สูงกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จังหวัดที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานสูงสุด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษจึงได้มีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพื่อใช้ในการายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ด้วยการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเรียกใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ โดยใช้ชื่อว่า \\Air4Thai สามารถรายงานคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษที่มีอยู่กว่า 70 สถานีทั่วประเทศและคำนวณค่าดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) โดยแสดงผ่านสัญลักษณ์ตัวการ์ตูนหน้ากลมที่ใช้สีต่าง ๆ เป็นตัวแทนของระดับคุณภาพอากาศ นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานอื่น ๆ อีกมากมายในการรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในประเทศใน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th