คุณกำลังมองหาอะไร?

ระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปีตั้งแต่ปี 2558- 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.02.2559
198
0
แชร์
11
กุมภาพันธ์
2559

กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปีตั้งแต่ปี 2558- 2567

กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปี
ตั้งแต่ปี 2558- 2567
 
          กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปีตั้งแต่ปี 2558- 2567 เพื่อให้หน่วยงานภาคสาธารณสุขระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง และสามารถขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
          วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง? ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานครว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2558- 2567 ขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม สามารถคุ้มครองสุขภาพประชาชน โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หลักการป้องกันไว้ก่อน หลักธรรมาภิบาล และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดยแผนยุทธศาสตร์นี้ให้ความสำคัญเร่งด่วนในพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมใน 3 กลุ่มหลักคือ 1) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสารเคมีและสารอันตราย ได้แก่ พื้นที่เหมืองทอง เหมืองเก่า และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ฝุ่นละอองหน้าพระลาน หมอกควันภาคเหนือ และโรงไฟฟ้าชีวมวล และ 3) พื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เหมืองโพแทชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น (ปี พ.ศ.2558-2560) ให้ความสำคัญใน พื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัด และระยะยาว (ปี พ.ศ.2561- 2567) ดำเนินการครอบคลุมประเด็นปัญหาพื้นที่เสี่ยง เป็น 76 จังหวัด
 
          สำหรับในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระดับจังหวัดได้ ซึ่งมีมาตรการการดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล สถานการณ์และการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการของเสียจากสถานพยาบาล 4) การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม และ 5) พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพประชาชนผู้ได้รับผลกระทบภายใต้แนวทางการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม? รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
 
          ทางด้าน นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การป้องกันดูแล และแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบและกลไกการดำเนินงานที่บูรณาการจากทุกภาคส่วนในทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสามารถเข้าถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนภายใต้บริบทของพื้นที่ ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงาน เชิงบูรณาการระหว่างกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค เพื่อให้ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 180 คนได้วางแผนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อยกระดับและต่อยอดองค์ความรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล อันจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการคุ้มครองและป้องกันสุขภาพของประชาชนต่อไป
 
กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2558- 2567 กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ 10 ปีตั้งแต่ปี 2558- 2567 เพื่อให้หน่วยงานภาคสาธารณสุขระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และแนวทางการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง และสามารถขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง \\การขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานครว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2558- 2567 ขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม สามารถคุ้มครองสุขภาพประชาชน โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หลักการป้องกันไว้ก่อน หลักธรรมาภิบาล และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดยแผนยุทธศาสตร์นี้ให้ความสำคัญเร่งด่วนในพื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมใน 3 กลุ่มหลักคือ 1) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษสารเคมีและสารอันตราย ได้แก่ พื้นที่เหมืองทอง เหมืองเก่า และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2) พื้นที่เสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ฝุ่นละอองหน้าพระลาน หมอกควันภาคเหนือ และโรงไฟฟ้าชีวมวล และ 3) พื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เหมืองโพแทชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น (ปี พ.ศ.2558-2560) ให้ความสำคัญใน พื้นที่เสี่ยง 36 จังหวัด และระยะยาว (ปี พ.ศ.2561- 2567) ดำเนินการครอบคลุมประเด็นปัญหาพื้นที่เสี่ยง เป็น 76 จังหวัด \\ สำหรับในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระดับจังหวัดได้ ซึ่งมีมาตรการการดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล สถานการณ์และการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการของเสียจากสถานพยาบาล 4) การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม และ 5) พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพประชาชนผู้ได้รับผลกระทบภายใต้แนวทางการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว ทางด้าน นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การป้องกันดูแล และแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบและกลไกการดำเนินงานที่บูรณาการจากทุกภาคส่วนในทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสามารถเข้าถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนภายใต้บริบทของพื้นที่ ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง \\การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงาน เชิงบูรณาการระหว่างกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค เพื่อให้ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 180 คนได้วางแผนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อยกระดับและต่อยอดองค์ความรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล อันจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการคุ้มครองและป้องกันสุขภาพของประชาชนต่อไป ดาวน์โหลดเอกสาร

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน