กิจการที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาต มีแนวทางพิจารณาอย่างไร ? | |
ตอบ กิจการที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงฯ โดยมีแนวทางพิจารณา ดังนี้ o กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการรายใหม่ หลังจากประกาศกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับ จะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประกอบการยื่นขอใบอนุญาต o กรณีเป็นรายเก่า ที่มีใบอนุญาตมาก่อนแล้ว และใบอนุญาตไม่ขาดต่อ (ยื่นคำขออนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ) ไม่ต้องจัดรับฟังความคิดเห็น o กรณีมีการเปลี่ยนผู้ประกอบกิจการ ไม่สามารถโอนใบอนุญาตได้ ให้ดำเนินการเสมือนมาขออนุญาตรายใหม่ โดยผู้ประกอบการรายเดิมต้องแจ้งยกเลิกใบอนุญาต และผู้ประกอบการรายใหม่ต้องมายื่นขออนุญาตใหม่ | |
การนำผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการพิจารณาอนุญาต มีแนวทางอย่างไร ? | |
ตอบ 1. กรณีไม่มีความเห็นใดๆ ของประชาชน ให้ราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาโดยถือว่าได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการพิจารณาอนุญาตแล้ว 2. กรณีมีความคิดเห็นหรือข้อห่วงกังวลของประชาชน หากจะมีการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเป็นต้องนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นการเฉพาะให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 33 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.สธ. พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. กรณีมีความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาการอนุญาตตามเหตุผลภายใต้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ หากจะมีการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเป็นต้องนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นการเฉพาะให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณะชนเพิ่มเติม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 33 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.สธ. พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. กรณีมีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาการอนุญาตตามเหตุผลภายใต้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ หากจะมีการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเป็นต้องนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นการเฉพาะให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณะชนเพิ่มเติม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 33 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. การสาธารณสุขฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาออกใบอนุญาตตามข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว ควรประกาศผลการพิจารณา พร้อมทั้งเหตุผลแห่งการพิจารณาอนุญาตให้ประชาชนทราบโดยมิชักช้า โดยปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ดังนี้ 1) ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ 2) สถานที่ตั้งสถานประกอบกิจการ | |
ขนาดจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องรับฟังความคิดเห็น มีข้อกำหนดจำนวนหรือไม่ ? | |
ตอบ ในกฎหมายไม่ได้กำหนดขนาด หรือจำนวนของกลุ่มเป้าหมายไว้ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของกิจการและวิธีการที่เลือกใช้ | |
การพิจารณาให้ความเห็นต่อการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีแนวทางอย่างไร ? | |
ตอบ หลักการพิจารณาโดยให้ครอบคลุมทั้ง 4 ทิศทาง รวมถึงมีตัวแทนประชาชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และเน้นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากการประกอบกิจการ (ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงกับสถานประกอบการ, ประชาชนผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการ ห่างออกไปตามระยะทางที่คาดว่า อาจได้รับความเดือดร้อนรำคาญ, ประชาชนกลุ่มเปราะบาง) | |
|