คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยากับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสในภาคะวันออกเฉียงเหนือ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
30
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยากับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสในภาคะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 

ปีพิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

โรคเลปโตสไปโรซีสเป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีผลต่อตับและไตอย่างเฉียบพลันและเป็นโรคติดต่อที่มีสัตว์เป็นพาหะ (zoonotic) ติดเชื้อได้โดยการสัมผัสปัสสาวะของสัตว์ที่มีเชื้อ เลปโตสไปราซึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม ดิน ทราย หรือพืชผัก จากข้อมูลรายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง และพบว่าอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าสภาพอากาศเป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญต่อระบาดวิทยาของโรคติดต่อทางสัตว์พาหะนำโรค (Duane J.Gubler และคณะ) ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภูมิอากาศในรอบ 20 ปี (พ.ศ. 2532-2551) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาอัตราการเกิดเลปโตสไปโรซีสในรอบ 20 ปี ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์) กับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสในรอบ 20 ปี ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรอบ 20 ปี (พ.ศ. 2532-2551) ด้านอุตุนิยมวิทยาได้แก่ ปริมาณน้ำฝน (Rainfall Intensity) อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด และความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) จากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรวบรวมข้อมูลสถิติโรคเลปโตสไปโรซีส จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์( Coefficient Correlation) ผลการศึกษา เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า อัตราป่วยเฉลี่ยรายเดือนมีความสัมพันธ์กับค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน ( R square = 0.5187; P value (two-tailed) = 0.0082) ค่า 95% ความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.2492 - 0.9157 และมีความ สัมพันธ์สูงกับค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายเดือน (R square = 0.7895; P value (two-tailed) = 0.0001) ค่า 95% ความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.6420 - 0.9686 สรุปและอภิปรายผล ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคเลปโตสไปโรซิสกับข้อมูลสถิติภูมิอากาศ พบว่า อัตราป่วยเฉลี่ยรายเดือนมีความสัมพันธ์สูงกับค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน และมีความสัมพันธ์สูงกับค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายเดือน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาในเมืองเคราลา ประเทศอินเดีย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสมีความสัมพันธ์กับปริมาณฝนโดยหลังจากเกิดฝนตกหนักเชื้อโรคจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมประมาณ 7-10 วัน (Pappachan และคณะ ,2546) นอกจากนี้การศึกษาในอเมริกาและแคนาดาพบว่าอุบัติการณ์ของโรคเลปโตสไปโรซีสมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และพบว่าปริมาณฝนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส (Ward MP,2546)

นักวิจัย พนิตา เจริญสุข

คำสำคัญ เลปโตสไปโรซีส,อุตุนิยมวิทยา,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,การเปลี่ยแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยากับการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสในภาคะวันออกเฉียงเหนือ
ขนาดไฟล์ 225KB
ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน