คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคติดต่อนำโดยแมลงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประเทศไทย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
38
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคติดต่อนำโดยแมลงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประเทศไทย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ A study of the relationship between Dengue fever and Malaria Morbidity and climate variability in Thailand

ปีพิมพ์ 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการป่วยด้วยโรคเขตร้อนกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย โดยขอบเขตการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ 1) กลุ่มโรคติดต่อที่นำโดยแมลง ได้แก่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย และไข้สมองอักเสบ 2) กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ได้แก่ เลปโตสไปโรซีส และ 3) กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ บิด และตับอักเสบเอ ปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยและสูงสุด ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ความเร็วลม และปริมาณฝน โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2553 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ Stepwise multivariable linear regression analysis โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในภาพรวมของประเทศและแบ่งตามฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว และรายภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาในภาพประเทศ พบความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยกับอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และความสัมพันธ์ของอุณหภูมิต่ำสุดกับอัตราการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส และโรคอาหารเป็นพิษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ≤ 0.001) โดยมีลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ มีระดับอุณหภูมิที่พบว่ามีอัตราป่วยน้อยสุด อยู่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับการเจ็บป่วยแต่ละโรค และเมื่อพิจารณารายภาคในแต่ละฤดูกาล จะพบความสัมพันธ์เช่นเดียวกับในภาพประเทศ คือ มีความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกับอัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคเลปโตสไปโรซีส และความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงสุดกับอัตราป่วยด้วยโรคบิดในฤดูร้อนอย่างชัดเจน และพบความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยกับการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียในทุกภาคในฤดูฝน โดยสรุป จะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีความสัมพันธ์การการเจ็บป่วยในประเทศไทย ซึ่งใช้เป็นข้อมูลหลักฐานเพื่อหามาตรการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศต่อไป อย่างไรก็ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น ควรศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพเพิ่มเติมโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก และผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การเติมเต็มองค์ความรู้ด้านผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำหนดนโยบายด้านสุขภาพของประเทศต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The association between temperature and morbidity has been examined mainly in developed countries. However, less evidence is available in developing countries, especially in Thailand. In this study, we examined the association between tropical weather variability and age-adjusted morbidity rates in Thailand over 20 years from 1991 – 2010. This study mainly focused on the tropical diseases in Thailand including vector borne diseases (dengue, malaria and encephalitis), zoonotic disease (Leptospirosis) and food and water borne diseases (diarrhea, acute food poisoning, dysentery and hepatitis A). Stepwise multivariable linear regression analysis were used to sequentially build models of the associations between temperature variation and morbidity, adjusted for the effects of age, weather variables (Minimum, mean, and maximum temperature, relative humidity, air pressure, wind speed, and precipitation). The associations are explored both for a whole country and stratified among three seasons (cold, hot and wet months) and four weather zones of Thailand (the North, Northeast, Central, and South regions). The mean temperature is significantly associated with morbidity rates of dengue fever, malaria and acute diarrhea (p-value ≤ 0.001). The minimum temperature is significantly associated with morbidity rates of leptospirosis. Overall, there were non-linear association with the minimum-morbidity temperature from 20 to 30 °C. For the stratified analysis by season, an increasing mean temperature during wet months shown an increase of the morbidity rates of dengue, malaria and leptospirosis. Similarity, the morbidity rates of dysentery also increased when maximum temperature increased during hot months. These results are useful for health impact assessment for public health implication of global climate change for tropical Thailand. However, further study on the health effects, especially in vulnerable populations to climate change such as children and the elderly are need in order to address the knowledge gaps on climate change and health impacts in Thailand.

นักวิจัย กรวิภา ปุนณศิริ ,อำพร บุศรังษี ,เบญจวรรณ ธวัชสุภา ,กมลวรรณ เสาร์สุวรรณ์ ,ยงยุทธ บุญขันท์ ,ปวีณา คำแปง

คำสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความแปรปรวนของภูมิอากาศ ผลกระทบต่อสุขภาพ Stepwise multivariable linear regression analysis

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคติดต่อนำโดยแมลงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประเทศไทย
ขนาดไฟล์ 3MB
ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน