คุณกำลังมองหาอะไร?

ศึ

ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 1)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
87
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 1)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 

ปีพิมพ์ 2556

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทาข้อเสนอประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ที่ต้องจัดทารายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข การจัดทา รายงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และกลไกการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สาหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ กิจกรรมวิจัย ดาเนินการ ระหว่าง มกราคม ถึง พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดย ๑) การศึกษาทบทวนเอกสารและการวิจัย ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ๒) จัดการประชุมระดมสมองผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ๔) จัดการประชุมปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญ และ ๕) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อข้อเสนอแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สาหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อปรับปรุงข้อเสนอให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการศึกษา ได้เสนอประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการกาหนดประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากการศึกษานี้ ที่ต้องจัดทารายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อประกอบการขออนุญาตดาเนินกิจการ จานวน ๓๕ ประเภท ผลการศึกษาได้แนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพขั้นต้น (Initial Health Impact Assessment: Initial HIA) ๒) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบเร่งด่วน (Rapid Health Impact Assessment: Rapid HIA) ๓) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบรอบด้าน (Comprehensive Health Impact Assessment: Comprehensive HIA) และ ๔) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่เข้าข่ายการควบคุมโดยกฎหมายและประกาศกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้เสนอ วิธีการ เงื่อนไข ในการจัดทารายงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพประเภทต่างๆ และกลไกการพิจารณารายงาน จากผลการศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสาหรับกิจก ารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ควรมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุขในระดับต่างๆ รวมทั้งการพัฒนา ปรับปรุง โครงสร้างอัตรากาลังของบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจดังกล่าว

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This action research aimed to propose a set of health regulated activities that needed to do health impact assessment (HIA) report. Criteria, methods or conditions required for doing HIA report as well as mechanism for considering and reviewing HIA report of the health regulated activities according the Public Health Act 2535 B.E. . The research activities were done during January-November 2556 B.E., these included; 1) reviewing related articles and government documents from within Thailand and aboard, 2) organizing brainstorming workshops participated by local governments and concerned agencies, 3) interviewing experts, 4) organizing expert consultation meetings, and 5) holding stakeholders’ feedback meetings of local governments and related agencies in response to the proposed implementation guide and mechanism for implementing HIA of health regulated activities according to the Public Health Act 2535 B.E. – this was eventually aiming to improve the final draft HIA framework. The research results proposed a set of health regulated activities, according to the Public Health Act 2535 B.E., of 35 prescribed activities. This was done by using criteria or condition set forth by this study which required such activities to do HIA report during issuing license procedure by local government. The study also suggested the implementation models and mechanisms for doing HIA which were classified into 4 categories; 1) initial health impact assessment: Initial HIA, 2) rapid health impact assessment: Rapid HIA, 3) comprehensive health impact assessment: Comprehensive HIA, and 4) the HIA of health regulated activities of which enforced by other acts and regulations. Those proposed performance models also included detailed methods and conditions required for handling HIA report of categorized health regulated activities as well as reviewing mechanisms of HIA report. In response to the study results, preparedness actions are required to those local governments in the context of HIA implementation on health regulated activities, according to the Public Health Act 2535 B.E. The agencies of Ministry of Public Health and Ministry of Interior should initiate building capacity of their human resources at all levels, this also includes the need of reforming their organization structure in order to manipulate and accomplish the proposed HIA mission.

นักวิจัย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข, กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 1)
ขนาดไฟล์ 5MB
ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน