คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีกิจการอุตสาหกรรมเหล็ก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
405
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การศึกษาแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีกิจการอุตสาหกรรมเหล็ก

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 

ปีพิมพ์ 2556

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าแบบบูรณาการมีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ รวมสินแร่เหล็ก การผลิตถ่านโค้ก โรงงานซินเตอร์ การถลุงเหล็ก การผลิตเหล็กกล้า การหล่อแบบต่อเนื่อง การแปรรูป การรีด การตีขึ้นรูป และการตกแต่งขั้นสุดท้าย (การเคลือบผิว การอบชุบความร้อน) จนกระทั่งได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กกล้า การเพิ่มปริมาณการผลิตตามความต้องการบริโภคทำให้โรงงานเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่บริโภคพลังงานและวัตถุดิบมหาศาล ผลตามมาคือการการใช้ทรัพยากรอย่างมากมายและปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม สารหลายชนิดที่ปล่อย หรือเกิดขึ้น หรือถูกใช้ในกระบวนการผลิตเหล็กกล้าจัดว่าเป็นกลุ่มสารที่ถูกระบุว่าเป็นพิษอันตรายต่อสุขภาพตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แม้ว่าประเทศไทยมีระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรืออุตสาหกรรมที่เข้าเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 อยู่แล้วแต่การวิเคราะห์อาจไม่สามารถพิจาณาผลกระทบต่อสุขภาพได้ครบถ้วน ดังนั้น แนวคิดการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพได้ถูกเพิ่มเติมเข้าไปให้สอดคล้องกับกระบวนการ EIA ทำให้สามารถอธิบายผลไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นตรงตามที่ระบุในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รายงานนี้จัดทำโดยกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เนื้อหาในรายงานอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผลของกิจกรรมโครงการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด HIA ทั้งนี้ รวมทั้งทางเลือกของวิธีการจัดการ เทคโนโลยีการออกแบบต่าง ๆ และวิธีการปฏิบัติของอุตสาหกรรมเหล็กที่สามารถลดผลไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ องค์ประกอบสำคัญของแนวทาง HIA ได้บรรจุไว้ในรายงานเพื่อสนับสนุนการจัดทำรายงาน HIA ที่มีมาตรฐานสูง แผนผังต่าง ๆ และแบบทวนสอบรายการได้ถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปใช้ทำให้การอธิบายผลจากการดำเนินการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชัดเจนขึ้น การประเมินความเสี่ยงได้ถูกประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการประเมินผลกระทบเพื่อคาดการณ์ผลต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเฉพาะ ผลที่ได้นำไปสู่การกำหนดมาตรการทางเลือกในการแก้ไขรวมทั้งข้อมูลสำหรับอธิบายวิถีการเกิดผลกระทบจากกิจกรรมโครงการต่อผู้ปฏิบัติงานและชุมชนรอบโครงการ กระบวนการมีส่วนร่วมได้ถูกผนวกเข้าไปในขั้นตอนการทำงานด้วย ท้ายที่สุดโครงสร้างการจัดทำรายงานได้ถูกนำเสนอในท้ายของรายงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The integrated iron and steel manufacturing sector includes all facilities that use coal and iron ore or agglomerated iron ore as raw materials to produce steel products. Primary steel production processes include raw materials handling and storage, coke making, sintering, ironmaking, steelmaking, continuous casting, hot forming, cold forming, pickling and cleaning and coating and associated production processes and facilities. With massive overcapacity of production, this industry consumes high energy and materials, featuring in heavy pollution and resource-intensiveness. Various substances that are released, produced, or used by the steel manufacturing sector have been declared toxic under Public Health Act, B.E. 2535. Although Environmental Impact Assessment (EIA) has been applied for integrated iron and steel industry under the National Environmental Quality Act (NEQA), B.E. 2535, it may not adequately address health adverse effects. Recommended by National Health Act, B.E. 2550 (Thailand), Health Impact assessment (HIA) was conducted to address how project activities may affect the health of people in vicinity. HIA is procedurally similar and complementary to the EIA. This report was prepared by Health Impact assessment Division, Department of Health, Ministry of Public Health. It outlines environmental and health concerns related to the project activities using HIA methodology. The alternative methods, technologies, designs, and procedures that will minimize the adverse health effects associated with integrated steel making are presented. Several key elements provide guidance to ensure a high standard of HIA practice. Simplified flowsheets and checklists are developed to show the major feeds to and environmental releases and to address health impacts from integrated steel mills. The impact appraisal step using risk assessment approach aims to forecast effects of specific exposures during its planning stages, resulting in providing optional mitigations with information about how these activities may affect the health of workers and community around the project. In addition, a multi-stakeholder engagement has also included to the process. Finally, a report structure is proposed.

นักวิจัย สุกานดา พัดพาดี ,วาสนา ลุนสำโรง ,ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี

คำสำคัญ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, อุตสาหกรรมเหล็ก

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีกิจการอุตสาหกรรมเหล็ก
ขนาดไฟล์ 5MB
ดาวน์โหลด 121 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน