คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การดำเนินงานพัฒนาตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
71
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การดำเนินงานพัฒนาตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 

ปีพิมพ์ 2556

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสําคัญระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในหลายประเทศทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปัจจัยสําคัญที่เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการที่ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มขึ้นจนเกินสมดุล แหล่งกําเนิดหลักของ ก๊าซเรือนกระจกคือกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิง การตัดไม้ทําลายป่า การคมนาคมขนส่งกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ปศุสัตว์ การกําจัดขยะและน้ําเสีย เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์เป็นต้น และส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6 ± 0.2 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นอกจากนี้กิจกรรมของมนุษย์อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นทําให้เกิดการเสียสมดุลและนําไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่อไป สําหรับประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในทุกภาคจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสในช่วงปีพ.ศ. 2553 – 2582 เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสในช่วง ปีพ.ศ. 2593 – 2602 และจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 องศาเซลเซียส ในช่วงปีพ.ศ. 2623 – 2632 หากยังไม่ดําเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2552) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในวงกว้าง เช่น คลื่นความร้อนเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ปริมาณน้ําฝนมีความแปรปรวนในหลายพื้นที่ ในพื้นที่ที่ปริมาณน้ําฝนลดลงส่งผลให้สมดุลน้ำมีแนวโน้มลดลง ทําให้บางพื้นที่เกิดภาวะขาดแคลนน้ํา บางพื้นที่อาจกลายเป็นทะเลทราย และส่งผล กระทบต่อพื้นที่การเกษตร สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้จึงมีโอกาสสูญพันธุ์ปะการังเปลี่ยนสี และระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้อากาศที่ร้อนขึ้นทําให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรง เช่น การเกิดลมพายุรุนแรง ฝนตกหนัก น้ําท่วม สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินพื้นที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะทําให้พื้นที่อยู่อาศัยน้อยลง และเกิดการอพยพย้ายถิ่น รุกล้ําพื้นที่ป่าไม้ และส่งผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศน์ตามมา จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมข้างต้น มีความเชื่อมโยงต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบต่อสุขภาพทางตรง เช่น การเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปหรือจากมลพิษอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น โรคติดต่อที่เกิดจากอาหารและน้ําเป็นสื่อ โรคติดต่อนําโดยแมลงและสัตว์ ซึ่งอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การที่สภาพอากาศที่มีความรุนแรง เช่น พายุ น้ําท่วม ภัยแล้ง ส่งผลให้มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก องค์การอนามัยโลกรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทําให้เกิดการสูญเสียภาระโรค ถึง 5,405 วัน ต่อ 100,000 ประชากร จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่มีความสําคัญต่อปัญหาสาธารณสุข และจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการรองรับต่อผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้การพิจารณาการศึกษาปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศของคณะกรรมาธิการการ สาธารณสุข (2554) หนึ่งในปัญหาที่สําคัญคือเรื่องผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจากการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงได้มีข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุข ให้เตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงและฉับพลัน และการเฝ้าระวังทางสุขภาพที่เป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ดังนั้น การเตรียมการด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จําเป็นจะต้องมีการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อนําไปสู่กระบวนการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เพื่อประเมินและติดตามแนวโน้มสถานการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาและเพื่อใช้สําหรับวางแผนการดําเนินงานป้องกันหรือลดผลกระทบ รวมถึงใช้ในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดทําขึ้นเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมต่อปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวกลางที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเอง

นักวิจัย กรวิภา ปุนณศิริ ,อำพร บุศรังษี ,กมลวรรณ เสาร์สุวรรณ ,ปวีณา คำแปง ,กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล

คำสำคัญ ตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชื่อวารสาร การดำเนินงานพัฒนาตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ลิงก์วารสาร http://203.157.65.18/doh_info/web/uploads/pdf_779/KFNroPOKwq3bw-dWR7tKCQsM_TS2mLcDcAyVss1_3fAS4n5yRJoA19pb1jM0mYEwa-R2J0AuQ-6h5wykEMKVrstK6XIvRPsG0fE-.pdf

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงานพัฒนาตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ขนาดไฟล์ 7MB
ดาวน์โหลด 16 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน