คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาต้นแบบการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
32
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การศึกษาต้นแบบการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ The Best Practice of Health Impact Assessment (HIA) Applying of Local Administrative Organization

ปีพิมพ์ 2552

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอน วิธีการดำเนินงานการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานแก้ไขและจัดการปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ที่เป็นทีมทำงาน จาก อปท. 4 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลเนินปอ จังหวัดพิจิตร 2) เทศบาลตำบลวังกรด จังหวัดพิจิตร 3) องค์การบริหารส่วนตำบลดงเสือเหลือง จังหวัดพิจิตร และ 4) เทศบาลตำบลสลกบาตร จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ ซึ่งมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน พร้อมทั้งประสานหน่วยงานวิชาการเพื่อจัดหาข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2) ระยะดำเนินการตามขั้นตอน HIA โดยสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เพื่อระบุประเด็นปัญหาที่จะทำ จากนั้นมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อกำหนดเป้าหมายของการทำ HIA การรับฟังปัญหาผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการกำหนดขอบเขตการศึกษาร่วมกัน ก่อนจะเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบ และนำไปสู่ข้อเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่ร่วมกัน และ 3) ระยะการนำข้อเสนอไปใช้ โดยข้อมูลและข้อเสนอจากกระบวนการ HIA ไปใช้ใน 2 ลักษณะ คือ 1) นำข้อเสนอมาตรการฯ ไปใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในพื้นที่ และ 2) เป็นข้อมูลประกอบในการยกร่างข้อกำหนดท้องถิ่นภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยมีกลไกสนับสนุนการดำเนินงานคือ กลไกการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงาน ได้แก่ นโยบายของผู้บริหารหน่วยงานที่ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสุขภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การมีทีมทำงานที่เข้มแข็งและใฝ่เรียนรู้ รวมทั้งการสนับสนุนจากหน่วยงานสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ที่ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า อปท. ยังมีข้อจำกัดด้านการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม การประมวลผลในทางสถิติ และการเขียนเอกสารวิชาการหรือการเขียนรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านนี้ต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This action research aimed to explore possible practices, strength, weakness, and barrier in implementation of health impact assessment (HIA) according to the Public Health Act B.E. 2535. The study designed to examine four types of HIA applied with respective sets of health regulated activities as imposed by the Public Health Act, which were Rapid/Desktop HIA; Rapid/Mini HIA; Comprehensive HIA, and the HIA type that required by other Acts. The experiments were done during February-November 2014. While at the end of the trail of HIA types’ implementation, the research team organized a set of learning dialogues for drawing views and comments of stakeholders participating by representatives from Ministry of Public Health, Ministry of Industry, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok Metropolitan, Local Governments, and health regulated activity owners. The study found all of the four types of HIA were feasible for real implementation while the four HIA types featured different strength, weakness, and barrier of practices according to altered contextual areas. The local governments together with concerned agencies could bring the approaches and recommended mechanisms from this study to appropriately apply for real use fitting to the types of health regulated activities, capacities of public service activities owners and local governments with concerned agencies in implementation of the HIA implementation process. This was eventually intended to issue the service licenses properly with respect to prevent or reduce health impacts possibly emerged from the premises. The study results also suggested the need for preparation of human resource and HIA implementation process within Ministry of Public Health and Ministry of Interior, in order to be responsible for executing HIA of the health regulated activities according to the Public Health Act B.E. 2535. There should be building HIA capacities of officers of local governments and public health authorities and also including the need on reforming organization’s structure and man power to be ready for the HIA mission.

นักวิจัย วาสนา ลุนสำโรง ,ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี ,พนิตา เจริญสุข ,ชนะจิตร ปานอู

คำสำคัญ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ, รูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาต้นแบบการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน