คุณกำลังมองหาอะไร?

ศึ

ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 2)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
32
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 2)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ 

ปีพิมพ์ 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และข้อดี ข้อด้อย ปัญหาอุปสรรค ในการดาเนินงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยการทดลองนารูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สาหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ไปดาเนินการในพื้นที่ต่างๆ รวม 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพขั้นต้น (Rapid/Desktop HIA) 2) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบเร่งด่วน (Rapid/Mini HIA) 3) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบรอบด้าน (Comprehensive HIA) และ 4) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ของกิจการที่อยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอื่น ได้ดำเนินการระหว่าง กุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 2557 และท้ายสุดได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการ เพื่อสรุปความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ข้อดี ข้อด้อย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการดาเนินงานรูปแบบต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 4 รูปแบบ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดี ข้อด้อย ปัญหาอุปสรรค แตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ศึกษา โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนาข้อเสนอแนวทางและกลไกที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบท ของประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ศักยภาพของผู้ประกอบกิจการ ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อประกอบการอนุมัติอนุญาตการดาเนินกิจการ ให้สามารถป้องกัน/ลดผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดาเนินการกิจการ ผลการศึกษายังชี้ความจาเป็นในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและกระบวนการ ในการรองรับการดาเนินงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสาหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ควรมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุขในระดับต่างๆ ด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพรวมทั้งการพัฒนา ปรับปรุง โครงสร้างอัตรากาลังของบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจดังกล่าว

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This action research aimed to explore possible practices, strength, weakness, and barrier in implementation of health impact assessment (HIA) according to the Public Health Act B.E. 2535. The study designed to examine four types of HIA applied with respective sets of health regulated activities as imposed by the Public Health Act, which were Rapid/Desktop HIA; Rapid/Mini HIA; Comprehensive HIA, and the HIA type that required by other Acts. The experiments were done during February-November 2014. While at the end of the trail of HIA types’ implementation, the research team organized a set of learning dialogues for drawing views and comments of stakeholders participating by representatives from Ministry of Public Health, Ministry of Industry, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok Metropolitan, Local Governments, and health regulated activity owners. The study found all of the four types of HIA were feasible for real implementation while the four HIA types featured different strength, weakness, and barrier of practices according to altered contextual areas. The local governments together with concerned agencies could bring the approaches and recommended mechanisms from this study to appropriately apply for real use fitting to the types of health regulated activities, capacities of public service activities owners and local governments with concerned agencies in implementation of the HIA implementation process. This was eventually intended to issue the service licenses properly with respect to prevent or reduce health impacts possibly emerged from the premises. The study results also suggested the need for preparation of human resource and HIA implementation process within Ministry of Public Health and Ministry of Interior, in order to be responsible for executing HIA of the health regulated activities according to the Public Health Act B.E. 2535. There should be building HIA capacities of officers of local governments and public health authorities and also including the need on reforming organization’s structure and man power to be ready for the HIA mission.

นักวิจัย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, พระราชบัญญัติการสาธารสุข, กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาแนวทางและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ระยะที่ 2)
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 36 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน