คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร้องเรียนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวล (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
30
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร้องเรียนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวล (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Factors Affecting Environmental and Health Impacts Complaints Related to the Biomass Power Plant Operations

ปีพิมพ์ 2557

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ประเทศไทยมีนโยบายพลังงานทดแทนที่มุ่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกแทนการใช้พลังงานฟอสซิล และมีแนวโน้มโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กที่กำลังการผลิตต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและการเปลี่ยนแปลงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพของประชาชนที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าชีวมวล ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี และโรงไฟฟ้า ชีวมวล ต.เหนือเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในระยะก่อนดำเนินการและระยะดำเนินการ และเพื่อจัดทำข้อเสนอต่อปัจจัยในการทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนในมิติด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบภาคตัดขวางดำเนินการเก็บข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ ในกลุ่มประชาชนที่อาศัยโดยรอบโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีความสมัครใจจะให้ข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ พื้นที่ละ 60 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้นำชุมชนโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชีวมวลเพียงด้านเดียวคือรับรู้ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน เมื่อโรงไฟฟ้าเปิดดำเนินการไปแล้วประชาชนในทั้ง 2 พื้นที่มีการรับรู้การเปลี่ยนแปลงผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ อาการตาแดง เคืองตา และพบว่าการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับพิธีกรรมหรือเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ข้อเสนอปัจจัยที่ทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าอย่างยั่งยืนในมิติการมีส่วนร่วม ได้แก่ ความจริงใจ (Sincerely) ในการเปิดเผยข้อมูลลอย่างรอบด้าน การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการมีส่วนร่วมครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) และการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในระยะก่อนและระยะดำเนินโครงการ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Thailand's National Alternative Energy Policy gears towards domestically securing renewable energy resources in the aim to minimize domestic consumption of fossil fuel since 2008, particularly biomass technology. In recent years the number of biomass power plants has increased significantly, operational in widespread location across the country in particularly, very small biomass power plant which capacity less than 10 megawatt. The objectives of this qualitative study are to 1) identity vicinity community’s perception on environment and health dimension; 2) to study public participation both in construction and operation phase;3) to make a recommendation on factors affecting the sustainability of biomass power plant projects in public participation dimension. Data were collected from two communities with biomass power plants operational in close vicinity namely Bo Yang Sub-district, Sawang Arom District, Utaithani Province and Nuemueng Sub-district, Mueng District, Roi-et Province. The study has found that the community’s perception on biomass power plant is only the project benefit while the project drawback is limited. In the operation phrase, dust, noise, quality of water and itchy eyes are the major environmental health changing. For the recommendations, there are 4 major factors that enhance the sustainability of biomass power plant operation as a public participation dimension which including first, sincerely in sharing project information and using two-way communication. Second, the public participation process should be set up over the lifespan of the project to both inform the public and obtain input from them. Third, the coverage of stakeholders in public participation process should be awared. Finally, the public participation level should be improved from tokenism to citizen power.

นักวิจัย พนิตา เจริญสุข ,ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี ,รณภูมิ สามัคคีคารมย์

คำสำคัญ โรงไฟฟ้า, ชีวมวล, โรงไฟฟ้าชีวมวล,การร้องเรียน,ผลกระทบต่อสุขภาพ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร้องเรียนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวล (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล)
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน