คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
67
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Development of Environmental Health Surveillance System

ปีพิมพ์ 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรของกรมอนามัยและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังฯ และพัฒนาระบบและกลไกการ เฝ้าระวังฯ แบบบูรณาการ เพื่อให้ได้รูปแบบระบบเฝ้าระวังฯ ที่เหมาะสมกับบริบทและปัญหาในพื้นที่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่ให้ศูนย์อนามัยทั้ง 12 ศูนย์ เรียนรู้พร้อมกับการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ กระบวนการดำเนินงานวิจัยจึงมีทั้งการประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรมเกี่ยวกับการเฝ้าระวังฯ และจัดหาที่ปรึกษาให้ศูนย์ เพื่อให้ระบบเฝ้าระวังฯ ที่ศูนย์พัฒนาอยู่บนหลักวิชาการ การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ เวลาดำเนินการ 2 ปี ระยะแรกเน้นการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร การค้นหาประเด็นปัญหาและพื้นที่ดำเนินงาน และศูนย์ได้ข้อมูลสิ่งคุกคามและผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดเพื่อการเฝ้าระวังฯ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาให้ได้รูปแบบระบบเฝ้าระวังฯ ผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่ได้รูปแบบการเฝ้าระวังฯ คือ ศูนย์ที่ 1 เรื่องการ เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ที่ 2 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามในพื้นที่ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ศูนย์ที่ 2 เรื่อง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ศูนย์ที่ 4 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผักกาดหัว ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี และศูนย์ที่ 12 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากคุณภาพอากาศ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มได้ตัวชี้วัดที่จะนำไปพัฒนาระบบเฝ้าระวังต่อไป คือ ศูนย์ที่ 3 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ พื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรม 304 ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ศูนย์ที่ 6 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมูลฝอยพิษจากกิจการรับซื้อของเก่า อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์ที่ 7 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าชีวมวลจากแกลบ อำเภอสว่างวีระวงษ์ จังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มที่ได้ข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพในพื้นที่ คือ ศูนย์ที่ 8 เรื่องการพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในระดับอำเภอ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ศูนย์ที่ 9 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่ใกล้ชลประทานเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก ศูนย์ที่ 10 การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพในพื้นที่ใกล้เหมืองทอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ศูนย์ที่ 11 เรื่องการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ ได้พัฒนาบุคลากรโดยทั้งการจัดประชุมติดตามการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดอบรมเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การพัฒนาครั้งนี้ พัฒนารวมไปถึงการสร้างระบบและกลไกในการเฝ้าระวังฯ ในแต่ละเรื่องของศูนย์ต่าง ๆ เพราะการเฝ้าระวังฯ เป็นการดำเนินงานลักษณะบูรณาการ จึงต้องมีภาคีเครือข่ายมาร่วมและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ระบบเฝ้าระวังฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้ ควรได้รับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นหมดไป และควรได้รับการส่งเสริมให้เฝ้าระวังฯ ในพื้นที่ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเป็นในภาพของการบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research is about model development on environmental health surveillance system which aims to build capacity of officers in Department of Health and network, and also develop the environmental health surveillance system and mechanism with multi-sectoral approach. The 12 health centres of Department of Health are the target of this research which they have learned on the process of environmental health surveillance in their own projects. All of the activities are included supporting the health centres, monitoring, learning by doing, knowledge networking on environmental health surveillance system. There are 2 phases during 2 years of this research, the first phase is for capacity building, identifying source, health effects, determinants and study areas, and the second phase is for development to get the surveillance models. The results separate into 3 groups. The first group of surveillance models include the air pollution surveillance system at Ayuttaya of Health Centre 1, the health risks surveillance system in Singburi if Health Centre 2, the air pollution surveillance system at Saraburi of Health Centre 2, the pesticides and health impact surveillance system in Ratchaburi of Health Centre 4, and the air pollution surveillance system at Yala of Health Centre 12). The second group of developing indicators for surveillance consist of the air pollution surveillance system in Prachenburi of Health Centre 3, the used goods buying surveillance in Kalasin of Health Centre 6, the air pollution surveillance at Ubonratchatani of Health Centre 7. For the last group of health impacts information include the improving the model of pesticides and health impact surveillance system in Phijit of Health Centre 8, the pesticides and health impact surveillance system in Phitsanulok of Health Centre 9, and the gold mining survillance system in Prae of Health Centre 10, and the Natural gas power plant surveillance system at Nakornsritammarat of Health Centre 11. The development of surveillance system and mechanism are consisted of model development on environmental health surveillance of 12 Health Centres with all stageholders participating in the system. This research suggests to carry on the surveillance system continuously to solve the problem and strengthen to perform in the high risk areas with multi sectoral action of all government, private, and public sectors.

นักวิจัย อำพร บุศรังษี , ยงยุทธ บุญขันท์ , เพ็ญผกา วงศ์กระพันธุ์ ,ปวีณา คำแปง ,กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล ,กมลวรรณ เสาร์สุวรรณ ,สุนิษา มะลิวัลย์ ,

คำสำคัญ ระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental health surveillance), การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning),

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
ขนาดไฟล์ 64KB
ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน