คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
57
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : STUDY SITUATION EXCRETA MANAGEMENT OF LOCAL AUTHORITIES IN KALASIN PROVINCE

ปีพิมพ์ : 2558

บทคัดย่อ :

จังหวัดกาฬสินธุ์มีการระบาดของพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ในขณะที่เขื่อนลำปาวมีการปรับปรุงประสิทธิภาพให้กักเก็บน้ำได้ปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ชลประทานในจังหวัดขยายเพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าว อาจเป็นผลให้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2558 ซึ่งได้ข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 96 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.1 จากองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นทั้งหมด 135 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 53.13 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดของท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 การให้บริการสูบสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 83.33 มีจัดบริการสูบสิ่งปฏิกูล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเองร้อยละ 13.54 และอนุญาตให้เอกชนดำเนินการ ร้อยละ 86.46 อย่างไรก็ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10.42 มีเอกชนที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปให้บริการสูบสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ ด้านการบำบัดสิ่งปฏิกูล มีเพียงเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เท่านั้นที่มีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ในส่วนปัญหาการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 21.64 มีปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ จากผลการออกและบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลข้างต้น หน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนและกระตุ้นให้มีมาตรฐานการให้บริการการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือ EHA3002 สนับสนุนการกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม (Cluster) การเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีราคาที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการจัดการปัญหาการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลอย่างบูรณาการผ่านกลไกคณะอนุกรรมการสาธารณสุข เพื่อควบคุมการแพร่กระจายพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี ,วาสนา ลุนสำโรง ,สุพัฒน์ เพ็งพันธ์ ,ชนะจิตร ปานอู

คำสำคัญ : การจัดการสิ่งปฏิกูล, การออกข้อกำหนดท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กาฬสินธุ์

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ขนาดไฟล์ 152KB
ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน