คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนานโยบายสุขภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: กรณีนโยบายเส้นทางจักรยานกระทรวงสาธารณสุข

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
18
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การพัฒนานโยบายสุขภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: กรณีนโยบายเส้นทางจักรยานกระทรวงสาธารณสุข

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Health Policy Development Using Health Impact Assessment: A Case Study of Ministry of Public Health’s Bicycle Lane Policy

ปีพิมพ์ : 2559

บทคัดย่อ :

จากการที่กระทรวงสาธารณสุขมีแนวคิดในการสร้างเส้นทางจักรยานในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนโดยรอบได้ออกกำลังกายด้วยการใช้จักรยาน ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มโอกาสให้มีกิจกรรมทางกาย แต่หากการดำเนินนโยบายพิจารณาไม่รอบด้าน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจากการสร้างเลนจักรยาน กระทรวงสาธารณสุขเห็นถึงความสำคัญของการใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ช่วยประเมินผลกระทบต่อสุขภาพที่มีศักยภาพจากแผนงาน โครงการ หรือนโยบาย ได้ทั้งก่อนดำเนินการและระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจะช่วยสนับสนุนในกระบวนการตัดสินใจ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มผลกระทบต่อสุขภาพทางบวก และลดผลกระทบต่อสุขภาพที่อันตรายให้เหลือน้อยที่สุด วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในการประเมินผลกระทบจากนโยบายเลนจักรยานกระทรวงสาธารณสุข วิธีการศึกษา : ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โดยขั้นตอนการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตการศึกษา ได้ทำการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดนโยบายและกิจกรรมการสร้างเส้นทางจักรยาน ความเสี่ยงหรือสิ่งคุกคามที่มีผลกระทบต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้งเชิงบวกและลบ และผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อระบุข้อห่วงกังวล ในขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา : บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนโดยรอบส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการสร้างเลนจักรยานจะทำให้มีเส้นทางจักรยานเพื่อใช้ออกกำลังกาย มีเส้นทางที่เป็นสัดส่วน ทำให้ผู้ใช้จักรยานเกิดความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และส่วนใหญ่คิดว่าจะมาใช้บริการเส้นทางเมื่อดำเนินการสร้างเสร็จแล้ว ด้านข้อห่วงกังวล พบว่าส่วนใหญ่มีความกังวลด้านความปลอดภัยตรงทางแยก การไม่มีไฟส่องสว่าง การลักขโมยจักรยาน เป็นต้น ด้านข้อเสนอแนะ พบว่า ต้องการให้มีไฟส่องสว่างในเส้นทางและจุดจอดรถจักรยาน มีไฟสัญญาณเตือนบริเวณทางแยก มีมาตรการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะต่อการจัดบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆด้วย โดยจะเห็นได้ว่าประเด็นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญ คือ ความปลอดภัยต่อการใช้เส้นทางจักรยาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มารองรับให้เอื้อต่อการใช้งานเส้นทางจักรยาน ทั้งนี้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญต่อมาตรการด้านความปลอดภัยในการใช้จักรยาน การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก การบำรุงรักษาเส้นทางจักรยาน และการส่งเสริมการใช้เส้นทางจักรยานและพฤติกรรมความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานด้วย สรุป: นโยบายการสร้างเลนจักรยานกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะโดยการออกกำลังกาย ให้แก่บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ประชาชนโดยรอบ และผู้สนใจออกกำลังกาย โดยต้องคำนึงถึงการส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัย การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการส่งเสริมการใช้เลนจักรยาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ : การพัฒนานโยบายเพื่อสุขภาพ, การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, เส้นทางจักรยาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

Background: Ministry of Public Health (MOPH) issues a policy for accommodating bicycle lane across the area to improve and promote public health personnel well-being. However, without the consideration carefully, negative health outcomes attribute to the policy may occur. MOPH place an important on Health Impact Assessment process. It is a proactive process that helps evaluate the potential health effects of a plan, project or policy. An HIA can provide recommendations to increase positive health outcomes and minimize negative health outcomes. Purpose: To provide the information and recommendations for the Ministry to increase positive and decrease negative health impacts. Methods: The step of HIA process was applied, including screening, scoping and appraisal. In the Screening and Scoping phase, key stakeholders were identified and the following aspects were reviewed and collected; bicycle lane project details and activities, health determinants, risk factors, and health effects related to project activities. In addition, public scoping was conducted to help identify public concerns. In the appraisal phase, key stakeholders concerns were investigated. The Identified stakeholder including, MOPH personnel, government sectors, and community member in the vicinity area. Result: The stakeholder respondents, mostly, agree with the policy. Because it helps increase physical activities, promote alternative transportation route. In addition, almost respondents are likely to use cycling that the MOPH will provide as a transportation option. Their addressed concerning issues are safety of crossroad, road lighting, bicycle thieves, traffic lighting on bike way, and signals for intersection. Additionally, they require services and facilities related to bicycle. Moreover, the important issue raised by stakeholders is bicycle lane safety measures. Conclusions: Ministry of Public Health’s bike lane policy helps promote an opportunity to build sound environment, and create transportation mode that require physical activities for public health personnel, bicyclist around the Ministry. To fulfill the healthy policy, this study drew the major concerns and recommendations of stakeholders which are including health-related performance measures, encourage bicycle used increasing, as well as reduce risk factors associated with riding. Keywords: Health policy development, Health Impact Assessment, Bicycle Lane

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,พนิตา เจริญสุข ,วาสนา ลุนสำโรง ,ชนะจิตร ปานอู

คำสำคัญ : การพัฒนานโยบายเพื่อสุขภาพ, การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, เส้นทางจักรยาน

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนานโยบายสุขภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: กรณีนโยบายเส้นทางจักรยานกระทรวงสาธารณสุข
ขนาดไฟล์ 306KB
ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน