คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
45
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : AIR POLLUTION AND HEALTH RISK ASSESSMENT OF WASTE INCINERATOR

ปีพิมพ์ : 2560

บทคัดย่อ :

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณและการกระจายตัวของมลพิษอากาศจากเตาเผามูลฝอย 2) ศึกษาการรับรู้ถึงผลกระทบต่อการดารงชีวิตของประชาชนโดยรอบเตาเผามูลฝอย 3) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน 4) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในชุมชน รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) พื้นที่ศึกษาได้แก่พื้นที่ตั้งเตาเผามูลฝอยที่มีการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จานวน 2 แห่งใน จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสงขลา วิธีการศึกษา 1. ตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air) และในสถานประกอบการ (Indoor Air) 2. สัมภาษณ์ประชาชนโดยรอบที่อาศัยโดยรอบในรัศมี 5 กิโลเมตรถึงการรับรู้ถึงผลกระทบต่อการดารงชีวิต 3. สัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานจานวนแห่งละ 30 คน 4. นาข้อมูลปริมาณความเข้มข้นของอากาศมาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลพิษอากาศ ผลการศึกษา พบว่าปริมาณและการกระจายตัวของสารมลพิษอากาศโดยรอบชุมชนมีค่าของสารไดออกซิน เพียงชนิดเดียวในพื้นที่จังหวัดสงขลามีปริมาณความเข้มข้นระหว่าง 0.037-0.17 pq-TEQ/m3) สาหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานประกอบ ที่ปฏิบัติงาน 3 จุดได้แก่หน้าจุดป้อนเชื้อเพลิง ห้องควบคุม และห้องสานักงาน พบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารโลหะหนัก และค่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย มีค่าตรวจวัดที่พบแต่ไม่เกินมาตรฐาน และนาค่าปริมาณความเข้มข้นของสารมลพิษที่มีการตรวจพบมาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ พบว่าในจังหวัดภูเก็ต พบเฉพาะสารอินทรีย์ระเหยง่าย มีค่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากการรับสัมผัสเบนซีนของผู้ปฏิบัติงานในจุดป้อนเชื้อเพลิง ห้องควบคุมระบบ และ ในห้องสานักงานคือ 8.88 x 10-6, 1.53 x 10-5, และ 1.38 x 10-5 ตามลาดับ ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 x 10-6 ถือว่าเป็นค่าความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ สาหรับจังหวัดสงขลาพบความเสี่ยงต่อสุขภาพ เฉพาะในห้องสานักงาน จากแคดเมียมซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งกระดูก และนิเกิล ซึ่งมีผลต่อการเกิดมะเร็งปอด พบว่ามีความเสี่ยง 8.79 x 10-5 และ 1.23 x 10-3 ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ประกอบกับข้อมูลพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองในขณะปฏิบัติงานทั้งสองพื้นที่มีค่าเพียง 50-55% ในการใช้อุปกรณ์ปิดจมูก และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจาการรับสัมผัสมลพิษอากาศของประชาชนทั้งสองพื้นที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามประชาชน ทั้งสองพื้นที่พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ เตาเผามูลฝอยจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในระยะไกลออกไปอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผลกระทบที่พบมากที่สุดคือการได้รับความเดือดร้อนราคาญ เรื่องกลิ่นเหม็นและฝุ่นละออง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

Aims of this cross-sectional study is to study the distribution and concentration of air pollution emitted from municipal solid waste (MSW) incinerator; to study the community perception of health impact from the incinerator operation; to study health behavior of municipal solid waste incinerator workers; to assess the workers and community health risk from air pollution (VOCs and heavy metals). Two MSW incineration plants were selected to be sample where located in Phuket and Songkla Province. Ambient and indoor air quality sampling was conduct including VOCs (Benzene Toluene Ethylbenzene, Styrene and Zylene), dioxin, and heavy metals (Cd, AS, Pb). In addition, quality of life perceptions among community in five kilometers radius around the plants were surveyed. Besides, thirty workers of each plant were interviewed. The result showed that dioxin concentration was found in Songkhla plant area at 0.037-0.17pq-TEQ/m3. Heavy metals and VOCs concentrations were found in control room, office room, and fuel feeding unit, however, the concentration met the National emission standards. The excess Cancer risk (CR) for lifetime exposure to benzene was evaluated. The results suggest a potential cancer risk for life time exposure to benzene from fuel feeding unit, control unit, and office room in Phuket plant are at unacceptable level and increased risk of leukemia at 8.88 x 10-6, 1.53 x 10-5, and 1.38 x 10-5 respectively. For the excess cancer risk found that life time exposure to cadmium and nickle in office room are increased for bone cancer and lung cancer at 8.79 x 10-5 and 1.23 x 10-3 respectively. In addition, personal protective equipment in particular face masks are used only 50-55%. Moreover, health risk assessments from air pollution exposure among community member closure to both plants were at acceptable level. However, based on community perception data, the results suggest that the more closure to the plant the more quality of life impact significantly (p-value <0.001) in which the most nuisance effects are from solid waste odor and particulate matter.

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,พนิตา เจริญสุข ,วาสนา ลุนสำโรง

คำสำคัญ : มลพิษอากาศ, ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, เตาเผามูลฝอย

ชื่อวารสาร : การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย

แนบลิงก์บทความที่ติพิมพ์ในวารสาร : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242375

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย
ขนาดไฟล์ 8MB
ดาวน์โหลด 22 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

สื่อที่เกี่ยวข้อง

การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน