คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.07.2564
27
0
แชร์
16
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Environmental Health Impact Assessment for ASEAN community

ปีพิมพ์ : 2560 

บทคัดย่อ :

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนน าไปสู่การขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบทาง สาธารณสุขโดยเฉพาะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงศึกษาเรื่องการประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและคาดการณ์แนวโน้มจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและจุดผ่านแดน ศึกษาการจัดการและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส านักงานสาธารณสุข ในการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยเกี่ยวกับอนามัย-สิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและจุดผ่านแดน โดยศึกษาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 7 แห่ง (ตาก มุกดาหาร หนองคาย สระแก้ว กาญจนบุรี สงขลา และนราธิวาส) จุดผ่านแดน 2 แห่ง (อุตรดิตถ์และสุรินทร์) วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสำรวจและแบบสอบถาม ผลการศึกษาสำหรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษพบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เก็บขนมูลฝอยได้ ร้อยละ 29.23 กำจัดได้ ร้อยละ 23.87 กำจัดด้วยวิธีฝังกลบอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลร้อยละ 50 ไม่มีสถานที่บ าบัดสิ่งปฏิกูล จัดการโดยวิธีอนุญาตเอกชนด าเนินการร้อยละ 57.14 คุณภาพน้ าอุปโภคบริโภคไม่ผ่านเกณฑ์ด้านชีวภาพทุกตัวอย่าง (เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ของ กรมอนามัย) และออกข้อกำหนดไม่ครบทุกหมวดร้อยละ 21.74 ในส่วนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ต่อการจัดการด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมนั้น มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยตรงร้อยละ 18.18 และยังไม่เคยได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมร้อยละ 60 ผลการส ารวจประชาชนมีความ พึงพอใจต่อการจัดการของภาครัฐร้อยละ 47.65 ส่วนพื้นที่จุดผ่านแดนพบว่า ยังไม่มีบริการเก็บขนมูลฝอย และมีมลพิษทางอากาศจากเตาเผามูลฝอย มีการลักลอบทิ้งมูลฝอยในพื้นที่สาธารณะ ขาดการจัดการด้านสิ่งปฏิกูล และพบการปนเปื้อนของน้ำอุปโภคบริโภคทั้งด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และพบว่าภาคสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมด้านบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมร้อยละ 50 แต่ร้อยละ 100 ยังไม่เคยได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเตรียมการรองรับการพัฒนาในพื้นที่ และประชาชนมีข้อกังวลต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งการสุขาภิบาลอาหาร มูลฝอย น้ าเสีย คุณภาพน้ำประปา คุณภาพอากาศ และความหนาแน่นของรถยนต์ ประเด็นการแย่งการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งด้านคุณภาพชีวิตและด้านการจ้างงานหรือรายได้ของชุมชน ข้อจำกัดการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความพร้อมของบุคลากรและการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จึงควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังและฐานข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็ง สร้างความร่วมมือทั้งระหว่างประเทศและภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ ภาครัฐเพื่อรองรับการจัดการปัญหาในอนาคต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเตรียมการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้กฎหมายสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และควรด าเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการสร้างความตระหนัก การรับรู้ และองค์ความรู้เพื่อดูแลสุขภาพด้วยตนเองในเบื้องต้นแก่ประชาชน และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

ASEAN Community ( AC) leads to rapid economic growth and may affect public health, especially health and environment related to health. Therefore, this study aims to survey situation of environmental health, study perception and concern of environmental health changes of population and develop policy recommendation for environmental health management in 7 provinces (Tak,Mukdahan, Nong Khai, Sa Keaw, Kanchanaburi, Song Kla and Narathiwat) in Special Economic Zone (SEZ) and 2 provinces in border area of Thailand (Uttaradit and Surin) between April 2005 and July 2007. The mixed methods of both qualitative and quantitative were used in this study. The study tools are questionnaires for collecting environmental health situations from LOA and Provincial health office, in-depth interview for policy recommendations from policy makers in environment, health and local authorities sectors, and questionnaire for the environmental health concerns and perception about the ASEAN Community development from public health volunteers and general population. The results in SEZ shown that 29.23% of waste is collected and transported by LOA meanwhile only 23.87% can be managed but most are insanitary such as open dumping. 50 % of LOA had human excreta treatment system. Regarding the quality of water supply, 100% of the samples don’t meet the 2000 DOH drinking water standards, most of the samples were contaminated with coliform and faecal coliform bacteria. The environmental health management in these areas are inadequate, especially in the plan of environmental health management for ASEAN development and capacity of health workforce.It is found that only 18.18% of LOA have responsible officer for environmental health and 40% has been capacity building. The perception and concern of local population about the ASEAN community development show that 74% of them know about the international border development and the source of information are mostly from the news and community leaders and 47.65% satisfy with environmental health management of LOA. Most of LOA in Border area do not had their own human excreta collection/transport services. Moreover, there are air pollution from incineration and improper of waste collection. 100% of LOA had no human excreta treatment systems. Moreover, 100% the samples of water supply don’t meet the 2000 DOH drinking water standards. Beside of the capacity of environmental health workforce in LOA and provincial public health office, 50% of them have environmental health officer, however never train or capacity building about environmental health management topic for the ASEAN development or related topic. The concern of local population are water, soil and air quality and consumption, and accidents from the rapid development which can have impacts to their health and well-being. In conclusion, the limitation of environmental health management, capacity of workforces and participation of community can be more serious in the future. Therefore, surveillance system and a database of environmental health, cooperation among relevant stakeholders need to be strengthened for implementation and development in environmental health. Capacity building of environmental health practitioners is needed. The LOA management must be done under public health law and environmental standards. Moreover, the two-way communication among the public, private and society are needed to rise understanding about the development in border area as well as increase the public involvement and participation in environmental health management in order to reach the sustainable development

นักวิจัย : อำพร บุศรังษี ,กรวิภา ปุนณศิริ ,เบญจวรรณ ธวัชสุภา ,กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล

คำสำคัญ :  SEZ, การประเมินผลกระทบ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, ประชาคมอาเซียน

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ขนาดไฟล์ 5MB
ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน