คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การรับสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.07.2564
48
0
แชร์
19
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การรับสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

ปีพิมพ์ : 2561

บทคัดย่อ :

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร การสัมผัสสารมลพิษทางอากาศ และปัจจัยอื่น ๆ กับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย รูปแบบการศึกษาคือ case-control study กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยมารดาที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (กลุ่มศึกษา) จำนวน 235 คน และมารดาที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม (กลุ่มควบคุม) จำนวน 263 คน ในจังหวัดลำปางและตาก ทำการประเมินการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรด้วยโปรแกรม AgDRIFT® และประเมินการสัมผัสสารมลพิษทางอากาศและค่าทางอุตุนิยมวิทยา เป็นรายบุคคลโดยคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของการสัมผัสตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ต่อวันต่อน้ำหนักเฉลี่ยของร่างกาย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสำรวจ และโปรแกรม AgDRIFT® 2.1.1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ chi-square test, t-test และ binary logistic regression ทำการคัดเลือกตัวแปรด้วย forward stepwise log likelihood ratio ผลการศึกษาพบว่า ในจังหวัดลำปาง พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ อายุครรภ์มารดา (Odds ratio (OR) = 0.813, 95% confidence interval (CI): 0.729, 0.905) การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด OR = 6.682, 95% CI: 2.379, 18.771) และขนาดการสัมผัสเฉลี่ยตลอดการตั้งครรภ์ต่อความชื้นสัมพัทธ์ (percent/day-kg) (OR = 3.893, 95% CI: 1.156, 13.111) ส่วนในจังหวัดตาก พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ อายุครรภ์ของมารดา (OR = 0.705, 95%CI: 0.614, 0.810) การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด (OR = 2.408, 95% CI: 1.101, 5.268) การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กไม่ครบทุกวัน (OR = 2.120, 95% CI: 1.183, 3.800) และขนาดการสัมผัสเฉลี่ยตลอดการตั้งครรภ์ต่ออุณหภูมิสูงสุด (celsius/day-kg) (OR = 29.785, 95% CI: 1.986, 446.674) จึงมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานสาธารณสุข ควรนำผลที่ได้จากการศึกษานี้ไปหาแนวทางและมาตรการในการลดอุบัติการณ์ของภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช ,พนิตา เจริญสุข ,วาสนา ลุนสำโรง ,เอกรินทร์ วินันท์

คำสำคัญ : ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, มลพิษทางอากาศ, สารเคมีทางการเกษตร, low birth weight, air pollutants, agricultural chemicals

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ :Agrochemical Exposure and Related Factors of Low Birth Weight Infants.

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

This study aimed to determine the relationship between exposure to agricultural chemicals, exposure to air pollutants and other factors with low birth weight. The study sample consisted of 235 mothers with a birth weight of less than 2,500 grams (study group) and 263 mothers with a a birth weight of 2,500 grams or higher (control group) in Lampang and Tak provinces. Exposure to agricultural chemicals was assessed using AgDRIFT® 2.1.1 and exposure assessments of air pollutants and meteorological data were calculated individually as the mean of exposure during the gestation period per day per average body weight. The instrument used consisted of a survey questionnaire and the AgDRIFT program. The statistics used for data analysis were chi-square test, t-test, and binary logistic regression with forward stepwise log likelihood ratio for variable selection. Results In Lampang province, variables related to low birth weight were gestational age (Odds ratio (OR) = 0.813, 95% confidence interval (CI): 0.729, 0.905), premature labor pain (OR = 6.682, 95% CI: 2.379, 18.771), and average exposure during pregnancy to relative humidity (percent/day-kg) (OR = 3.893, 95% CI: 1.156, 13.111). In Tak province, variables related to low birth weight were gestational age (OR = 0.705, 95% CI: 0.614, 0.810), premature labor pain (OR = 2.408, 95% CI: 1.101, 5.268), not taking iron supplement every day (OR = 2.120, 95% CI: 1.183, 3.800) and average exposure during pregnancy to maximum temperature (celsius/day-kg) (OR = 29.785, 95% CI: 1.986, 446.674) Recommendations The health sectors of both provinces take the results from this study to find out how to reduce the incidence of low birth weight or more study be conducted.

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การรับสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 18 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน