คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาตัวชี้วัดและมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.07.2564
55
0
แชร์
22
กรกฎาคม
2564

ชื่อเรื่อง : การศึกษาตัวชี้วัดและมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชน

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : 

ปีพิมพ์ : 2562

บทคัดย่อ :

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในการคุ้มครองประชาชนทั้งด้านสุขภาพและด้านสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะมาตรา 6 (2) ได้ให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงที่อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการคือประการที่หนึ่ง การกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพประชาชน และประการที่สอง วิธีดำเนินงานการตรวจสอบควบคุมกำกับดูแล หรือแก้ไขสิ่งที่มีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน จึงทำการศึกษาเพื่อกำหนดนิยาม ความหมาย และขอบเขตที่เกี่ยวกับ “สภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ” พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดของสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ และศึกษามาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ โดยทำการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์แบบพหุหลักเกณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้ผสมผสานวิธีระหว่างการรวมคะแนนแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย และการวิเคราะห์แบบลำดับขั้น และได้ประยุกต์ใช้แนวคิด WHW (What-How-Whom framework) ในการสร้างเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ แล้วจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อคัดเลือกตัวชี้วัดสภาวะสิ่งแวดล้อม และประชุมกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์เชิงลึกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า โดยภาพรวมเห็นด้วยกับการกำหนดตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ แต่ต้องเหมาะกับพื้นที่ปัจจุบัน ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ ขาดบุคลากรทั้งจำนวน ศักยภาพและความเชี่ยวชาญ มีช่องว่างระหว่างหน่วยงานและกฎหมาย ระเบียบราชการด้านงบประมาณ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าหากจะนำผลการศึกษาไปกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชน มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ส่วน คือ 1) การผลักดันให้เป็นนโยบายระดับชาติและการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน 2) ระบบบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข 3) การพัฒนาตัวชี้วัดที่มีความสำคัญและสร้างโปรแกรมการตรวจติดตาม (Environmental health tracking program)

นักวิจัย : สุกานดา พัดพาดี ,วาสนา ลุนสำโรง ,พนิตา เจริญสุข ,ชนะจิตร ปานอู ,เอกรินทร์ วินันท์

คำสำคัญ : สภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม, มาตรฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม, ค่าเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาตัวชี้วัดและมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของประชาชน
ขนาดไฟล์ 6MB
ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน