คุณกำลังมองหาอะไร?

คำ

ถามที่พบบ่อย

ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ

หมวดหมู่
Q

โครงการเมืองสุขภาพดี ” มีที่มาอย่างไร

A

ด้วยบริบทความเป็นเมืองที่มีการขยายตัวมากขึ้น (Urbanization) ส่งผลต่อการบริโภคและใช้ทรัพยากร  รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชากร ในระดับสากลได้เห็นความสำคัญของการสร้างเมืองสุขภาพดี  โดยเมืองสุขภาพดี (Healthy City) ได้ถูกกล่าวถึงในคำประกาศเซี่ยงไฮ้ จากการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลก ปี พ.ศ. 2559 และประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญของการสร้างเมืองสุขภาวะโดยกำหนดไว้ ในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี  ในปี 2566 กรมอนามัย  ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี โดยริเริ่มพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานเมืองสุขภาพดี และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี เพื่อที่จะเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ ให้เกิดเมืองน่าอยู่ ปลอดภัย และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Q

เป้าหมายการดำเนินงานโครงการเมืองสุขภาพดี เป็นอย่างไร

A

กรมอนามัย ได้กำหนดเป้าหมาย โดยภายในปี 2570 ประเทศไทยจะมีเมืองสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 165 เมือง ใน 77 จังหวัด ทั้งนี้ ในปี 2566 กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ เทศบาลนคร เทศบาลเมืองทั่วประเทศ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่พัฒนาเขตเศษฐกิจพิเศษ โดยมีพื้นที่นำร่องอย่างน้อย 36 เมือง (เขตสุขภาพละ 3 เมือง) และจะมีการขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่อื่นๆ ในระยะถัดไป พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนฯ จากหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

Q

เกณฑ์มาตรฐานเมืองสุขภาพดี ของกรมอนามัย เป็นอย่างไร

A
  • กณฑ์มาตรฐานเมืองสุขภาพดี พัฒนาโดยกรมอนามัย โดยการทบทวนข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติเมืองสุขภาพดีที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก และแนวคิดการพัฒนาเมืองในรูปแบบอื่น ๆ ที่ดำเนินการในประเทศไทย ได้แก่ เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) จังหวัดสะอาด (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) และเมืองท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี (กรมอนามัย) รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

  • เกณฑ์มาตรฐานเมืองสุขภาพดีมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Healthy Environments (สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ) Healthy Settings (สถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ) และ Healthy People (ประชาชนรอบรู้และสุขภาพดี) รวมจำนวน 23 ตัวชี้วัด 
Q

หลังจาก อปท.สมัครเข้าร่วมโครงการเมืองสุขภาพดี จะต้องดำเนินการอย่างไร

A
  1. ท่านจะได้รับข้อความตอบกลับการสมัครผ่านทาง E-mail ที่ลงทะเบียน โดยสามารถติดตามสถานะการสมัคร ได้ที่เว็บไซต์ bit.ly/healthycityth
  2. ศึกษารายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานเมืองสุขภาพดี ประกอบกับการประเมินตนเองของ อปท. พร้อมส่งผลการประเมินตนเอง ได้ที่ bit.ly/sa_healthycity_th
  3. อปท. จะได้รับการติดต่อประสานจากศูนย์อนามัยและจังหวัดในพื้นที่
Q

ข้อมูลที่นำมาประเมินเมืองสุขภาพดี ใช้ข้อมูลย้อนหลังได้กี่ปี

A

ใช้ข้อมูลที่เป็นสถานะการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน โดยสามารถใช้ข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีได้ เช่น ทำงานปี 2566 แต่ข้อมูลล่าสุดที่เขาดำเนินงานเป็นปี 2565 ก็ได้ แต่ถ้ามีข้อมูลผลการดำเนินงานล่าสุดเป็นปี 2566 ก็จะดียิ่งขึ้น (กรณีที่เขาไปขับเคลื่อนและคณะกรรมการระดับเขตไปประเมินช่วง ก.ค. - ส.ค. 66 นี้ค่ะ) ยกเว้น ตัวชี้วัดมีแผน/กิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย ใช้ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีได้

Q

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีรายชื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเมืองสุขภาพดี กรมอนามัย ได้หรือไม่

A

โครงการเมืองสุขภาพดีของกรมอนามัย มีเป้าหมายคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลนคร/เทศบาลเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับทั้งในพื้นที่ SEZ และ EEC สำหรับ อปท.ที่ไม่มีรายชื่อนั้น สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ โดยศึกษาละเอียดเกณฑ์มาตรฐานฯ และคู่มือการดำเนินงานสู่เมืองสุขภาพดี ประกอบกับการประเมินตนเองของ อปท. และเตรียมความพร้อมยกระดับ อปท. สู่เมืองสุขภาพดี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับเขตและจังหวัดต่อไป 

Q

ตัวชี้วัดที่ 8 การจัดการอากาศที่ดี : เกณฑ์ระดับดีมากในตัวชี้วัดที่ 8 นี้ มีเงื่อนไขและข้อกำหนดในการวัดคุณภาพอากาศอย่างไร

A

Q

ตชว.ที่ 16 โรงงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการทั้งสังกัด อปท. และนอกสังกัด อปท) ในส่วนของ รร นอกสังกัดนั้น อปท. จะดำเนินการได้อย่างไรบ้าง

A

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ทั้งสังกัด อปท. และนอกสังกัด อปท.) เป็นกิจกรรมที่กรมอนามัยขับเคลื่อนอยู่ โดยมีศูนย์อนามัยและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ดำเนินการอยู่ในระดับพื้นที่ ซึ่ง อปท.จะมีบทบาทเป็นหน่วยงานสนับสนุน การดำเนินงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผลการประเมิน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนั้น อปท สามารถประสานขอได้จาก ศูนย์และ สสจ. หรือจากสถานศึกษาในพื้นที่ 

Q

ตัวชี้วัดที่ 19 การร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินเพื่อขึ้นสถานะเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างไร

A

การร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ อปท. สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ (1)  อปท. ต้องการเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ โดย อปท.ลงทะเบียนในระบบแพลตฟอร์มเว็บไซต์สาสุขอุ่นใจ (2) อปท. ต้องการสนับสนุนหน่วยงานในพื้นที่เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น หน่วยงานภาคสาธารณสุข (รพ., รพ.สต.) ภาคการศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, โรงเรียน) และภาคสังคม (หมู่บ้าน, ชมรม, สมาคม, โรงงาน) โดยสนับสนุนและติดตามให้หน่วยงานดังกล่าว ลงทะเบียนในระบบแพลตฟอร์มเว็บไซต์สาสุขอุ่นใจ การขึ้นสถานะเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ องค์กรที่ลงทะเบียนในระบบแพลตฟอร์มเว็บไซต์สาสุขอุ่นใจ จะต้องกรอกข้อมูลและเลือกที่แบบประเมินองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ และสำหรับผู้ใช้บริการ ซึ่งหน่วยงานที่จะขึ้นสถานะเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพจะต้องมีคะแนนการประเมินจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและผู้ใช้บริการร้อยละ 80 การดูสถานะองค์กรตนเอง ให้เข้าเว็บไซต์สาสุข อุ่นใจ คนไทยรอบรู้ คลิกดูสถานะองค์กร จากนั้นเลือกตัวกรอง เขตสุขภาพ จังหวัด อำเภอ เพื่อดูสถานะองค์กรตนเอง และหน่วยงานภายใต้สังกัดตนเอง

Q

ตัวชี้วัดที่ 21 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรอบรู้ด้านสุขภาพมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการประเมินอย่างไร

A

หลักเกณฑ์ : องค์กรที่ลงทะเบียนและขึ้นสถานะเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ จะต้องทำการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในชุมชน โดยให้ประชาชนประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ       ในชุมชน ซึ่งผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอายุ 15 ปีขี้นไป จะถูกประมวลผลอัตโนมัติและแสดงผลด้านล่างของลิงก์แบบประเมินชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยพิจารณาจากร้อยละของประชาชนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับที่เพียงพอ (ได้คะแนนตั้งแต่ 67 ขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) 

แบบฟอร์มติดต่อ

ล้างข้อมูล