คุณกำลังมองหาอะไร?

 

1. ชนิดและรูปแบบ

     ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิดและหลายรูปแบบในการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โดยชนิดของสารเคมีและรูปแบบหรือสถานะที่พบ ได้แก่

     1) รูปแบบของของแข็ง (Solid) ได้แก่ สารเคมีประเภทโลหะหนัก เช่น เหล็ก ตะกั่ว แมงกานีส แคดเมียม เป็นต้น

     2) รูปแบบฝุ่นละออง (Dust) ได้แก่ ฝุ่นผงทราย เช่น ฝุ่นหิน ฝุ่นซิลิก้า เป็นต้น

     3) รูปแบบของเหลว (Liquid) เช่น กรด ด่าง สารทำละลายอินทรีย์ (Organic Solvents) เป็นต้น

     4) รูปแบบไอระเหย (Vapour) ได้แก่ ไอของกรด ไอของด่าง ไอของสารทำละลายอินทรีย์

     5) รูปแบบไอควัน ( Fume) ได้แก่ ไอควันของโลหะหนัก เช่น ไอควันของตะกั่ว ไอควันของเหล็กไอควันของแมงกานีส ไอควันของแคดเมียม เป็นต้น และไอควันของสารกึ่งโลหะหนัก เช่น ไอควันของปรอท

     6) รูปแบบก๊าซ เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) เป็นต้น

     7) รูปแบบเส้นใย เช่น เส้นใยฝ้าย ปอ ป่าน ลินิน เส้นใยแร่ใยหิน (Asbestos)

     8) รูปแบบสารเคมีชนิดใหม่ๆ ได้แก่ อนุภาคนาโน รวมทั้งการตัดต่อทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “GMO” เพื่อประโยชน์ของการทำเกษตรเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย

2. การสะลายตัวของสารเคมี

    สารเคมีนั้นมีทั้งชนิดที่มีการสลายตัวได้เร็วและชนิดที่มีการสลายตัวได้ช้า สารเคมีที่มีการสลายตัวได้เร็วมาก ได้แก่ สารประกอบอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs) หรือที่นิยมเรียกว่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ สารวีโอซี ตัวอย่างเช่น สารทำละลายอินทรีย์ (Organic Solvents) ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซีน โทลูอีน สารเคมีประเภทนี้สลายตัวได้เร็วแม้ในร่างกายด้วยเช่นกัน ส่วนสารเคมีที่มีการสลายตัวช้านั้นบางชนิดอาจตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า 50 ปี ซึ่งจะมีผลต่อการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารเป็นระยะเวลานาน สารเคมีพวกนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มของ “สารมลพิษตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) เช่น ดีดีที
ไดออกซิน ฟิวแรน เป็นต้น

3. ทางเข้าสู่ร่างกาย

    โดยทั่วไปแล้วสารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ

    1. ทางการหายใจ สารเคมีในรูปของฝุ่นละอองและเส้นใยที่มีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้น ขนจมูกสามารถกรองได้ ส่วนฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะฝุ่นละอองและเส้นใยที่เล็กกว่า 10 ไมครอน จะสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไปจนถึงถุงลมปอดได้

     2. ทางผิวหนัง สารเคมีที่มีคุณสมบัติละลายไขมันได้ดีจะสามารถซึมผ่านผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดีกว่าสารเคมีประเภทอื่น ตัวอย่างเช่น สารทำละลายอินทรีย์มีคุณสมบัติชะล้างไขมันได้ดีจึงสามารถดูดซีมผ่านทางผิวหนังได้ดี

     3. ทางการรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำ ที่มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่

4. เส้นทางสารเคมีในร่างกาย

    เมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าสู่กระแสเลือดผ่านไปยังตับ ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายโดยระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) โดยมีการแปรรูปสารเคมีเป็นสารเมตาโบไลท์ (Metabolites) ชนิดที่ละลายน้ำได้แล้วขับออกทางปัสสาวะ ส่วนในกระแสเลือดนั้นจะมีสารเคมีที่ปะปนกันทั้งสารเคมีตั้งต้นที่สัมผัสเข้าไปและสารเคมีที่เป็นสารเมตาโบไลท์ของสารเคมีที่ถูกร่างกายแปรรูปไปบ้างแล้ว

5. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมี

    สารเคมีมีพิษและภัยต่อสุขภาพหรืออาจกล่าวได้ว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพได้หลายประการ สามารถจำแนกออกเป็น

    1) ทำให้เกิดปัญหาเหตุรำคาญ (Nuisance Problem) เช่น มีเขม่าควัน มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น ข้อดีของกลิ่นของสารเคมีคือทำให้ทราบว่าในขณะนั้นมีสารเคมีในสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากเพียงใด

    2) ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง (Acute and Chronic Disease) โดยทั่วไปแล้วสารเคมีที่มีพิษและมีผลกระทบต่อสุขภาพเฉียบพลัน

6. การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมี

        เราสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีได้ดังนี้

    1) ป้องกันทางเข้าของสารเคมีสู่ร่างกาย โดยลดการสัมผัสและลดพฤติกรรมเสี่ยงให้มากที่สุด

    2) การตรวจสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีนั้น ควรมีการตรวจสุขภาพทั่วไปควบคู่กับการตรวจสารเคมีในร่างกาย และ/ หรือที่ขจัดออกจากร่างกาย ตัวอย่างเช่น การตรวจสารเคมีตั้งต้นในเลือด และการตรวจสารเมตาโบไลท์ของสารเคมีในเลือดและในปัสสาวะ เป็นต้น

         กรณีของสมรรถภาพการได้ยินที่เสียไปหรือหูตึงนั้น นอกจากมีสาเหตุจากเสียงดังแล้ว ยังอาจเนื่องจากสารเคมีบางชนิดที่ทำลายระบบประสาทการได้ยิน หรืออาจเนื่องจากกรณีของการเสื่อมสมรรถภาพการได้ยินของผู้ที่สูงอายุหรืออยู่ในวัยชรา

         การตรวจสารเคมีในเลือดและในปัสสาวะนั้น ไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนตรวจ แต่จำเป็นต้องงดอาหารบางประเภทก่อนตรวจสารเคมีบางชนิด เนื่องจากอาจทำให้ผลที่ตรวจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ตัวอย่างเช่น จำเป็นต้องงดอาหารทะเลอย่างน้อย 2 วัน ก่อนเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารหนู เป็นต้น

7. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากผลวิเคราะห์สารเคมี

 

 

คู่มือการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต  (T-OSH Manual on Process Safety Management)

คู่มือการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต  (T-OSH Manual on Process Safety Management)

คู่มือการประเมินความเสี่ยงสุขภาพลูกจ้างในกรณีใช้สารเคมีอันตราย

มาตรฐานการเก็บรักษาสารเคมีอันตราย

มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงสุขภาพลูกจ้างในกรณีใช้สารเคมีอันตราย

เอทิลีนไดคลอไรด์ไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์ไวนิลอะซีเตตมอนอเมอร์กรดอะคริลิค /  อะคริโลไนไตรล์โซเดียมไฮดรอกไซด์ถังเก็บขนาด 25,000 ลิตรขึ้นไปแอมโมเนียฟอร์มาดีไฮด์กรดซัลฟิวริกสไตรีนโมโนเมอร์เบนซีนประเภทสารพิษประเภทสารกัดกร่อนประเภทสารไวไฟการประเมินความเสี่ยงสารเคมี