คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การศึกษาสารประกอบไดออกซินและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของโรงพยาบาล

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.02.2566
136
1
แชร์
10
กุมภาพันธ์
2566

ชื่อเรื่อง : การศึกษาสารประกอบไดออกซินและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล

ปีพิมพ์ : 2565

บทคัดย่อ :

จจากแนวโน้มสถานการณ์ของปริมาณการเกิดมูลฝอยติดเชื้อของประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยปี 2559                มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเกิดขึ้นถึง 55,646 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 2.8 เนื่องจากมีการขยายตัวของสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆ เพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์และพยาบาล โดยมูลฝอยติดเชื้อมีแหล่งกำเนิดหลักมาจากโรงพยาบาล และสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐและเอกชน ซึ่งวิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างของมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดและลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม                   แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือมีการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสารประกอบไดออกซิน ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารประกอบไดออกซินจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อและบริเวณชุมชนใกล้เคียง และศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณสารประกอบไดออกซินจากปล่องระบายเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้ง 4 แห่ง มีค่าอยู่ระหว่าง 45.2 – 3,556 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546 ส่วนสารประกอบไดออกซิน ในบรรยากาศทั่วไปในชุมชนใกล้เคียง มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00421 - 0.0571 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น และรัฐ Ontario ของประเทศแคนาดา ผลการสำรวจด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่งมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดูแลระบบการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และได้รับการอบรมหลักสูตรตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 100) ด้านการคัดแยกและการเก็บรวบรวม มีระบบการคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะ โดยมีการคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด (ร้อยละ 100)  และส่วนใหญ่เก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อได้ถูกต้องตามประเภทมูลฝอยและภาชนะบรรจุ (ร้อยละ 75) ด้านการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อของทุกแห่งมีการสวมชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน มีการกำหนดเวลาและเส้นทางเคลื่อนย้ายมูลฝอยที่แน่นอน (ร้อยละ 100) ด้านการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ใช้วิธีการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งมีการตรวจสอบควบคุมอุณหภูมิการเผามูลฝอยติดเชื้อ (ร้อยละ 100) ด้านการควบคุมและบำบัดมลพิษของเตาเผา พบว่า ทุกแห่งไม่มีระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ และทุกแห่งเคยมีการชำรุดหรือขัดข้องของเตาเผา และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิชำรุด (ร้อยละ 100) โดยมีเพียงแห่งเดียวที่มีการตรวจวัดอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากปล่องเตาเผามูลฝอย (ร้อยละ 25) ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การลดปริมาณสารไดออกซินและสารมลพิษอื่น ๆ ที่เกิดจากการเผามูลฝอย คำนึงถึงการสร้างและดูแลระบบบำบัดมลพิษ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ เพิ่มมาตรการการตรวจสอบประสิทธิภาพและการบำรุงดูแลรักษาเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งสนับสนุนการอบรมด้านเทคนิคการดูแลเตาเผามูลฝอยติดเชื้อให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเตาเผามูลฝอยติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง

นักวิจัย : นางสาวชนะจิตร ปานอู , นางสุกานดา พัดพาดี , นางสาวพนิตา เจริญสุข , นางสาวณัฐวีร์ ลุนสำโรง

คำสำคัญ : ไดออกซิน, เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, โรงพยาบาล

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : A STUDY OF DIOXIN AND INFECTIOUS WASTE MANAGEMENT IN HOSPITAL

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ :

ชื่อประชุมวิชาการ : การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ.2562

ไฟล์ประชุมวิชาการ : https://drive.google.com/open?id=1IuM0ebCJuGxZuO55uoB6UjgzGSKMCzqt

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาสารประกอบไดออกซินและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของโรงพยาบาล
ขนาดไฟล์ 5MB
ดาวน์โหลด 26 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน